เมื่อ “เพลิงไหม้” จอมพลสฤษดิ์ ถึงที่เกิดเหตุ สั่งเด็ดขาด “ข้าพเจ้ารับผิดแต่ผู้เดียว”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตรวจการดับเพลิงที่ตรอกสลักหิน หัวลำโพง เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2503

เมื่อเกิด “เพลิงไหม้” จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มักจะไปถึงที่เกิดเหตุและดำเนินการสั่งการอย่างเด็ดขาด และการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การสั่งประหารชีวิตผู้ลอบวางเพลิง โดยใช้ ม.17 (มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร) พร้อมกับคำพูดทำนอง “ข้าพเจ้ารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” เช่น ในสารของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ถึงประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2501 มีความว่า

“ข้าพเจ้าจึงตกลงใจว่าจําเป็นต้อง ปฏิบัติการ โดยเร่งด่วนและเฉียบขาด เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเพลิงไหม้ โดยไม่คํานึงถึงสิ่งใดอื่นแม้แต่ ตัวข้าพเจ้าเอง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจําเป็นจะต้องปฏิบัติการอย่างเด็ดขาด การใดจะผิดถูกหรือไม่ ข้าพเจ้ารับผิดแต่ผู้เดียว โดยจะต้องปฏิบัติการไปตามแนวนโยบายซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าถูกที่สุด เพื่อความผาสุกของพี่น้องทั้งหลายร่วมกัน ขอได้โปรดกรุณารับทราบตามนี้ไว้ด้วย”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 6 กรกฎาคม 2564