ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ในรัชกาลพระบาสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อให้การดำเนินคดีความต่างๆ เป็นไปอย่างยุติธรรม จึงได้มีการออก “ประกาศห้ามไม่ให้ผู้มีอำนาจเข้าไปเกี่ยวข้องในการพิจารณาคดี” (พบต้นฉบับในหมายรับสั่ง เดือน 7 ปีขาลฉศก) ไว้ดังนี้
“ตั้งแต่นี้สืบไปห้ามมิให้ผู้ทำเรื่องราวกราบบังคมทูลพระกรุณาแลร้องถวายฎีกาเก็บเอาความของผู้อื่นมาว่า แลเอาพระนามเจ้าตั้งกรมเจ้ายังไม่ได้ตั้งกรม แลชื่อขุนนางไม่ได้เป็นแม่กองมากดขี่ขุนศาล ว่าได้เพ็ดทูลเจ้ากรมนั้น พระองค์นั้น ได้ร้องกับขุนนางกรมนั้น
กับอนึ่งขุนศาล ตุลาการ เจ้าพนักงานเรียกเงินค่าฤชา ธรรมเนียมถูกต้องไม่เหลือเกินผิดกฎหมายแล้ว ห้ามอย่าให้เข้ามาว่ากล่าวเป็นอันขาดที่เดียว ถ้าผู้ใดมีฟังจะให้กดเอาคดีเป็นแพตามรูปความแล้ว จะให้ลงพระราชอาญาโดยฐานละเมิดเป็นพินัยหลวง
อนึ่ง ขุนศาล ตุลาการ ซึ่งชําระความของราษฎรทุกๆ ศาล ถ้าความขัดขวางประการใดก็ให้ร้องเรียนกับแม่กอง ถ้าแม่กองชำระตัดสินไปแล้ว ก็ให้คัดข้อความขึ้นหาฤา ฯพณฯ ลูกขุน ณ ศาลหลวงๆ ปรึกษาไม่ตกลงหรือปรึกษาแย้งกันก็ดี ให้เอาข้อความ แลคําปรึกษา แย้งขึ้น กราบเรียน หาฤา ฯพณฯ ลูกขุนศาลาๆ ปรึกษาไม่สําเร็จแล้วแก่กันได้ ก็ให้เอาข้อความนั้นกราบบังคมทูลพระกรุณา อย่าให้ขุนศาลตุลาการ กดความของราษฎรไว้ให้เนิ่นช้าเป็นอันขาดที่เดียวนั้น
ให้กรมมหาดไทย กลาโหม กรมเมือง หมายประกาศป่าวร้องข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ข้าเจ้าต่างกรม ยังไม่ได้ตั้งกรมฝ่ายหน้าฝ่ายใน ในพระบรมมหาราชวัง ในพระบวรราชวัง แลราษฎรให้ร้องทั่วตามรับสั่ง”
อ่านเพิ่มเติม :
- กำเนิดทนายหลวงว่าความแผ่นดิน จาก “กรมอัยการ” สู่ “อัยการสูงสุด”
- “คดีแพะรับบาป” เหตุทูตฝรั่งเศสสบประมาท-ดูหมิ่นสยามต่อหน้าพระพักตร์ ร.4 !
- ช้างสารปะทะกัน คดีความระหว่าง 2 เสนาบดีใหญ่ เจ้าพระยามหินทรฯ-พระยาสุรศักดิ์ฯ
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2394-2400, องค์การค้าคุรุสภา พ.ศ. 2503
เผยแพร่ในระบบออนล์ครั้งแรกเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2564