“พญามังราย” ไม่ใช่ “พ่อขุนเม็งราย”

อนุสาวรีย์ พญามังราย พ่อมุขเม็งราย
อนุสาวรีย์พระญามังราย ที่ห้าแยกพ่อขุน อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ฝีมือปั้นของ ปกรณ์ เล็กฮอน ด้านหลังคือตุงทองสามผืน ฝีมือของ ถวัลย์ ดัชนี เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และกนก วิศวะกุล ตามลำดับ ถ่ายโดย LazarusSP1 ในนาม Thanyakij

พระนามของกษัตริย์ผู้ก่อตั้ง อาณาจักรล้านนา มักถูกเรียกว่า “พ่อขุนเม็งราย” โดยอ้างอิงจากพระนามที่ปรากฏ ใน พงศาวดารโยนก ที่ พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงขึ้นใน รัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่นักวิชาการเคยออกมาทักท้วงหลายครั้งแล้ว ว่า การเรียกพระนามเช่นนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากเอกสารโบราณล้วนเรียกพระองค์ว่า “พ(ระ)ญามังราย” หรือ “พญามังราย”ด้วยกันทั้งสิ้น

screen-shot-2016-12-15-at-5-00-35-pmด้วยเหตุนี้จึงมีการตั้งกลุ่มรณรงค์เรียกร้อง ให้มีการแก้ไขให้เรียกขานพระนามของพระองค์ให้ถูกต้อง ผ่านเว็บไซต์ change.org โดยมีคุณ Thanainan Rajkitwanich เป็นผู้เริ่มต้นการรณรงค์ ตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ทั้งนี้ เคยมีผู้อธิบายที่มาของการเปลี่ยนชื่อของพระองค์ไปเป็น “เม็งราย” ว่าเป็นผลมาจาก การเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งสยามกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะสูญเสียดินแดนล้านนาให้กับอังกฤษ

และการที่พระนามของ ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา มีคำนำหน้าขึ้นว่า “มัง” อย่างกษัตริย์พม่าหลายพระองค์ ทำให้ฝ่ายสยามเกรงว่า จะเป็นเหตุให้พม่ามาอ้างสิทธิเหนือดินแดนล้านนา ผู้นำสยามในยุคนั้น จึงเปลี่ยนชื่อที่แท้จริงของพระองค์ไปเป็น “เม็งราย” เสีย ซึ่งขัดต่อหลักฐานทางประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

เช่นเดียวกับการใช้ชื่อตำแหน่งของพระองค์ว่า “พ่อขุน” ก็ไม่ถูก เพราะไม่ใช่ทำเนียมเดิมของล้านนา ที่เรียกกษัตริย์ว่า “พระญา”  การนำคำว่า “พ่อขุน” ไปใช้กับพระองค์ จึงเป็นสิ่งที่เพิ่งสร้างขึ้นในยุคหลังเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 กันยายน 2566