ทำไมชื่อ“ไอศกรีม ซันเด”? ทำไมต้องวันอาทิตย์?

ตั้งแต่ศควรรษที่ 19 จนถึงศตวรรษที่ 30 มีความการณรงค์ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ในสหรัฐอเมริกามา โดยกลุ่มคนหลากหลายที่ต้องการทำงานเปลี่ยนแปลงทางสังคมตลอด  ด้วยกลยุทธที่หลากหลาย เช่น การตั้งพรรคการเพื่อการละเว้นของมึนเมาแห่งชาติ (The National Prohibition Party) ที่ส่งผู้สมัครปลอดแอลกอฮอล์ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี, กลุ่มต่อต้านสถานเริงรมย์ ( The Anti-Saloon League) ฯลฯ

พวกเขายังพยายามโน้มน้าวให้เคาน์เตอร์เครื่องดื่มอัดลมเลิกขายไวน์และสุรา หันมาขายเครื่องดื่มอื่นๆ หนึ่งในจำนวนนั้นคือ ไอศกรีมโซดา ซึ่งก็ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว ช่วงศตวรรษที่ 19 ที่รัฐอิลลินอยส์ มีการพิจารณาคดีของสามีภรรยาคู่หนึ่ง ศาลตัดสินภาคทัณฑ์สามีเป็นเวลา 1 ปี โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเลิกข้องแวะกับเหล้ายาและหันมากินไอศกรีมโซดาแทน หากในรัฐเพนซิลเวเนียกลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม ภรรยาคนหนึ่งได้รับอนุญาตให้หย่าขาดจากสามีได้ เพราะฝ่ายชายหมกตัวอยู่แต่เคาน์เตอร์น้ำอัดลมดื่มเครื่องดื่มผสมโซดามากเกินไป จนละเลยไม่ใส่ใจดูแลฟาร์มสัตว์ปีกของครอบครัว

ความเปลี่ยนแปลงอย่างคาดมาถึงเกิดขึ้น เมื่อหลายเมืองในสหรัฐอเมริกาผ่านกฎหมายคัดค้านการดื่มน้ำโซดาในวันอาทิตย์ หรือ Lord’s Day (นักเทศน์ออกโรงเทศน์คัดค้านเอง) มีการกําหนดห้ามขายน้ำโซดาหลายพื้นที่เป็นการเฉพาะเจาะจง ซึ่งร่วมทั้งไอศกรีมโซดาด้วย

นั่นทำให้เกิด “ไอศกรีม” แบบใหม่ที่รียกว่า “ไอศกรีม ซันเด”

ปี ค.ศ. 1881 ที่เมืองทูริเวอร์ส ในรัฐวิสคอนซิน เภสัชกร เอ็ดวาร์ด บาร์เนอร์ เอาไอศกรีมใส่น้ำเชื่อมช็อกโกแลตให้ลูกค้าแทนที่จะเป็นโซดาอย่างที่ขอ และด้วยราคาแค่หนึ่งนิกเกิลใครก็ตามสามารถซื้อ “ไอศกรีมใส่น้ำเชื่อม” ตํารับปรุงใหม่ของเขาได้ แต่ก็ซื้อได้เฉพาะวันอาทิตย์เท่านั้น เล่ากันว่ามีเด็กผู้หญิงเล็กๆ คนหนึ่งไปที่ร้านในวันธรรมดาแล้วบอกว่า ให้สมมุติว่ามันเป็นวันอาทิตย์ก็แล้วกัน เธอก็เลยได้ไอศกรีม ใส่น้ำเชื่อมมากินสมใจ นี่คือต้นกําเนิดของซันเดที่ไม่ใส่โซดา อีกกระแสเล่ากันว่าเด็กน้อยไปที่ร้านขายยาที่ชื่อว่าจิฟฟีส์ ในเมืองมานิโตวัค ในวิสคอนซิน เมืองที่ห่างไปจากทูริเวอร์สแค่ 6 ไมล์เท่านั้น ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทั้งหมดไม่มีอะไรแตกต่างไปยกเว้นแค่สถานที่

ใน ค.ศ.1892 ที่เมืองอิทากาในนครนิวยอร์ก เภสัชกรเชสเตอร์ ซี. แพลทท์ เกิดมีแรงดลใจขึ้นมาอย่างปุบปับไม่รู้เนื้อรู้ตัวตอนที่เขาจัดไอศกรีมวานิลลาถวายพระที่โบสถ์ยูนิทาเรียนในละแวกนั้น กรณีของแพลทท์ก็คือ เขาใช้น้ำเชื่อมเชอร์รี่ราดไปบนไอศกรีมจนทั่วและใช้เชอร์รี่เชื่อมแต่งให้มันดูน่ากินขึ้นอีก “เชอร์รี่ ซันเด” ของเขาราคา 10 เซนต์ และดูเหมือน ว่าเมืองอิทากาจะคึกคักพอสมควร เพราะในปี 1897 ก็มีร้านขายยาร้านอื่นออกมาอ้างว่าเป็นต้นคิดชื่อ “ซันเด” (sundae) นั่นก็คือร้าน เดอะ เรด ครอส ฟาร์มาซี ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงแรมอิทากา เนื่องจากบาร์ของโรงแรมปิดในวันซับบาธ ซึ่งเป็นวันประกอบพิธีทางศาสนาและพักผ่อนของชาวคริสต์ ลูกค้าก็เลยเดินข้ามถนนไปที่ร้านขายยาฝั่งตรงข้ามเพื่อหาของน่ากินที่ไม่ฝืนความรู้สึกของสังคมและใช้ตัวสะกดแบบใหม่ทันสมัยเบียบ (sundae ไม่ใช่ sunday)

ที่น่าสนใจอีกที่คือเมืองเอวานสตัน รัฐอิลลินอยส์ ซึ่งชาวเมืองเชื่อมั่นว่าที่นี่เป็นแห่งแรกที่ใช้คําว่า “ไอศกรีมซันเด” (“ice cream sundae”) ส่วนที่ต่างออกไปก็อย่าง sundhi หรือ sundaye ก็มีในถิ่นอื่นๆ แต่ไม่ค่อยจะรุ่งเท่าไหร่ค่ะ คําว่าซันเดที่สะกดว่า “Sundae” นั้น บ่งบอกถึงความนบนอบ อีกทั้งยังไม่สับสนกับคําว่าซันเดย์ที่แปลว่าวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันพักผ่อนของชาวคริสต์ด้วย

ไม่ว่าความจริงของเรื่องราวที่แข่งกันอ้างทั้งหมดนี้จะเป็นอย่างไร ไอศกรีมที่ปราศจากโซดาก็ยังต้องฝ่าฟันอยู่ต่อไป ไม่นานที่นิวยอร์กซิตี้แห่งเดียว เคาน์เตอร์ขายน้ำอัดลมก็มีจํานวนมากกว่าร้านขายเหล้า เพราะตอนที่กฎหมายห้ามการผลิตและขายสุราบังคับใช้เมื่อปี 1920 บาร์ในโรงแรมหลายแห่งเปลี่ยนสภาพไปเป็นร้านไอศกรีม โรงเหล้ากลายเป็น โรงงานไอศกรีม

ในระหว่างการประชุมใหญ่ของผู้ผลิตไอศกรีมครั้งหนึ่ง พวกเขาร่วมประชุมพากันร้องเพลงเปิดประชุมที่เอาทํานองเพลง “โอลด์ แบล็ค โจ” มาใส่ แต่เขาร้องท่อนขึ้นต้นกันว่า “วันเวลาผันเปลี่ยนเวียนไปตอนที่ พ่อของเราเมาหยําเป” ส่วนท่อนจบร้องว่า “เขามาแล้ว เขามาแล้ว พวก เราเห็นเขาเข้าใกล้มาแล้ว พ่อหิวไอศกรีมหนักอึ้งกลับบ้าน แทนที่จะกอดขวดเบียร์กลับมา”


ข้อมูลจาก อิสสริยา พรายทองแย้ม (แปล). ไอศกรีม ประวัติศาสตร์แสนอร่อย, สำนักพิมพ์มติชน 2554


เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2562