ผู้เขียน | กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร |
---|---|
เผยแพร่ |
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท : เสาหินและเพิงหินอายุหลายพันปี
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ที่ตั้งบนภูพระบาท เทือกเขาภูพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ชื่อ “ภูพระบาท” มีที่มาจากรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขาหินทรายแห่งนี้ และภายในเขตอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
นอกจากนี้ ยังมีเสาหินและเพิงหินขนาดใหญ่กระจายตัวอยู่ทั่วไป เพิงหินเหล่านี้เป็นหินทรายในหมวดหินภูพาน สมัยครีเทเชียส Cretaceous period) ราว 130 ล้านปีมาแล้ว ที่ถูกกระบวนการทางธรรมชาติกัดเซาะ มาเป็นเวลาหลายล้านปี ทำให้สภาพภูมิประเทศแปรเปลี่ยนเป็นเสาหินและเพิงหินรูปร่างสวยงามแปลกตาเช่นในปัจจุบัน
เสาหินและเพิงหินดังกล่าวยังพบร่องรอยการใช้พื้นที่ของมนุษย์ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุหลายพันปี และได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน “พระพุทธบาทบัวบก” ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเพิ่มเติมในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 63 เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524 นับแต่นั้นมา จึงมีการสำรวจศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลทางโบราณคดีของภูพระบาทเรื่อยมา สมเด็จพระเทพรัตนรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2535
สนใจติดต่อสอบถาม/เข้าชมโบราณสถานหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สามารถติดต่อได้ที่ 042-219837, 042-219838 Facebook : อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
บริการรถกอล์ฟฟรีสำหรับผู้พิการหรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ บริการวิทยากรเพื่อให้ทุกท่านไม่พลาดข้อมูลในการชมโบราณสถาน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
[ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเพจ: กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และเพจ: อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท]
อ่านเพิ่มเติม :
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- จุดเริ่มต้นของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มรดกโลกทางวัฒนธรรม
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
[ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเพจ: กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร และเพจ: อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท]
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 25 กรกฎาคม 2562