“พระอิสริยยศ” สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี มีกี่ชั้น อะไรบ้าง?

พระอิสริยยศเจ้านาย อยุธยา
ภาพวาดของชาวตะวันตกแสดงภาพกรุงศรีอยุธยาประมาณรัชกาลพระเจ้าปราสาททอง ในฤดูน้ำหลากที่น้ำท่วมพื้นที่โดบรอบ เหลือแต่เพียงเกาะเมือง

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปรากฏ พระอิสริยยศเจ้านาย มากมาย ประเพณีการเลื่อนอิสริยยศเจ้านายก็เกิดมาในสมัยรัชกาลที่ 2 ที่ให้เรียกกรมของสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า กรมสมเด็จพระ

ภาพเขียน กรุงศรีอยุธยา
ภาพเขียนกรุงศรีอยุธยาโดยชาวตะวันตก

ทว่า พระอิสริยยศ สมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏการเลื่อนยศเจ้านายที่ได้รับแต่เดิม (ยกเว้นการเลื่อนกรมพระราชมารดาหรือผู้ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชเป็นกรมพระในสมัยอยุธยา) และมี “พระอิสริยยศ” เพียง 4 ยศเท่านั้น

พระอิสริยยศเจ้านาย 4 ชั้น สมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี 

ชั้นที่ 1 กรมพระ เป็นอิสริยยศสำหรับ “พระพันปีหลวง” (พระราชมารดา) พระมหาอุปราช และวังหลัง

ชั้นที่ 2 กรมหลวง เป็นอิสริยยศสำหรับพระมเหสี ส่วนใหญ่มักมีแต่เจ้านายฝ่ายในที่ดำรงพระยศนี้

ชั้นที่ 3 กรมขุน เป็นอิสริยยศสำหรับเจ้าฟ้าราชกุมาร

ชั้นที่ 4 กรมหมื่น เป็นอิสริยยศสำหรับพระองค์เจ้า

เป็นอันตอบคำถามเรื่อง “พระอิสริยยศ” สมัยอยุธยา กรุงธนบุรี มีกี่ชั้น อะไรบ้าง…

ขุนนางแขก ขบวนพยุหยาตราพระกฐินบก กรุงศรีอยุธยา
ภาพประกอบ- ขุนนางแขก อยู่ในขบวนพยุหยาตราพระกฐินบกครั้งกรุงศรีอยุธยา (ภาพคัดลอกจากผนังอุโบสถ วัดยม พระนครศรีอยุธยา)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

https://www.khaosod.co.th/lifestyle/news_2669405


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2567