ความหมายของ “วังหน้า” กับการเปลี่ยนคำเรียกตั้งแต่ปลายอยุธยาถึงต้นกรุงเทพฯ

นนทพร อยู่มั่งมี ผู้เขียน หนังสือ สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย
“นนทพร อยู่มั่งมี” ผู้เขียนหนังสือ “สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย” (ออกแบบภาพ: ปรินดา จังแหยม)

ความหมายคำว่า “วังหน้า” ซึ่งถือเป็นตำแหน่งองค์รัชทายาทตั้งแต่สมัยปลายอยุธยาจวบจนต้นรัตนโกสินทร์ มีการเปลี่ยนแปลงคำเรียกมากน้อยเพียงใด

เรื่องนี้ “นนทพร อยู่มั่งมี” ผู้เขียนหนังสือ “สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย” หนังสือเล่มใหม่จากชุดกษัตราธิราชของสำนักพิมพ์มติชน ได้อธิบายไว้ในคลิป “Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม” EP.4 สืบสาวธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์ ผ่าน Youtube : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม ว่า…

การสถาปนาตำแหน่ง “วังหน้า” เกิดขึ้นสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สร้างขึ้นเพื่อให้สมเด็จพระนเรศวรเสด็จกลับมาประทับที่วังใหม่แห่งนี้เป็นครั้งคราว

ต่อมาวังแห่งนี้มีการเรียกนามว่า “วังจันทรเกษม” โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า เมื่อครั้งรวบรวมคนจากหัวเมืองเหนือมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยาช่วงของการทำศึกกับหงสาวดี คนเหล่านี้อาจเป็นผู้เรียกวังแห่งนี้ว่า “วังจันทน์” ตามนามเดิมของวังที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวร ณ เมืองพิษณุโลก และมีการเรียกชื่ออย่างสามัญว่า “วังหน้า” ซึ่งเป็นการเรียกตามทิศทางของที่ตั้ง เนื่องจากอยู่ทิศด้านหน้าของพระราชวังหลวง

และในสมัยเดียวกันมีการสถาปนา “วังหลัง” ตั้งอยู่บริเวณสวนหลวงด้านหลังพระราชวังหลวง โดยวังเหล่านี้ต่างมีหน้าที่ป้องกันพระนครยามศึกสงคราม วังหลวงรักษาพระนครด้านเหนือ วังหน้ารักษาพระนครด้านตะวันออก และวังหลังรักษาพระนครด้านตะวันตก

การจัดตำแหน่งวังเช่นนี้ยังสอดคล้องกับลักษณะการจัดทัพ ชื่อดังกล่าวนอกจากเป็นการเรียกตำแหน่งที่ตั้งของพระราชวังแล้ว ยังเป็นการเรียกตำแหน่งเจ้านายที่เป็นองค์รัชทายาท ภายหลังมีการใช้วังจันทรเกษมเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาทสืบมาจนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยา

ในเวลาต่อมาสมัยสมเด็จพระเพทราชาได้มีการเรียกว่า “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” แสดงว่าเจ้านายสามารถตั้งกองกรม ควบคุมดูแลไพร่พลของตนเอง รวมถึงการจัดตั้งศูนย์บัญชา เพื่อวางแผนการจัดทัพศึกต่าง ๆ

โดยจากการศึกษาพบว่า “วังหน้า” มีศักดินามากถึงหนึ่งแสนไร่ มีสิทธิน้อยกว่าพระมหากษัตริย์เพียงอย่างเดียว ซึ่งธรรมเนียมดังกล่าวดำเนินต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

📍สามารถรับชม “Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม” EP4. สืบสาวธรรมเนียมการสืบราชสันตติวงศ์ เพิ่มเติมผ่าน….

✓ Youtube : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม

✓ Facebook : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม

สั่งซื้อหนังสือชุดกษัตราธิราช (3 เล่ม)

✏️เว็บไซต์ : https://bit.ly/3RVVGm2 

✏️Shopee : https://bit.ly/4ctd8qi

✏️Line Shop : https://bit.ly/3VUUT6a

✏️Tiktok : https://bit.ly/4cEUrQm

อ่านเพิ่มเติม : 

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567