“ธงทอง” เผยเรื่องราว “การจัดการน้ำ-การขึ้นครองราชย์” สองประเด็นจากหนังสือใหม่ สนพ. มติชน

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ
ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ใน Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม EP2. ชวนอ่านประวัติศาสตร์ราชวงศ์ไทยในหนังสือชุด “กษัตราธิราช”

“สถาบันพระมหากษัตริย์ที่อยู่ยาวนานมาเป็นเวลานับหลายร้อยปีในสังคมไทย มีความผูกพัน มีความเชื่อมโยง ความเป็นไปของวิถีชีวิต ความคิดเรื่องราวต่าง ๆ เยอะแยะมากมาย

แล้วก็อาจจะเป็นที่มาของประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาพูดในหนังสือเล่มนี้หลายๆ ประเด็นด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น ประเด็นการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รวมถึงภารกิจของพระมหากษัตริย์เรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องทำนุบำรุงให้ประชาชนพลเมืองอยู่ดีกินดี” 

Advertisement

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม กล่าวไว้ใน Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม EP2. ชวนอ่านประวัติศาสตร์ราชวงศ์ไทยในหนังสือชุด “กษัตราธิราช” คลิปวิดีโอที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเชื่อมโยงกับหนังสือ 3 เล่มออกใหม่ของสำนักพิมพ์มติชน 

ธงทอง แนะนำ 3 เล่มจากสำนักพิมพ์มติชน มีอะไรบ้าง?

📍 “ธำรงรัฐกษัตรา: เบื้องหลังอำนาจประวัติศาสตร์ความมั่นคงไทย” โดย อดินันท์ พรหมพันธ์ใจ | คำนำเสนอโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ

📍 “ชลารักษ์บพิตร: การจัดการน้ำของกษัตริย์ไทยจากพิธีกรรมสู่การพัฒนา” โดย อาสา คำภา และทิพย์พาพร อินคุ้ม

📍 “สถิตสายขัตติยราช: ธรรมเนียมการสืบราชสมบัติไทย” โดย นนทพร อยู่มั่งมี

ใน EP.2 ชวนอ่านประวัติศาสตร์ราชวงศ์ไทยในหนังสือชุด “กษัตราธิราช” ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จะพาทุกคนไปเจาะลึกหนังสือ 3 เล่ม ว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง พูดถึงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ทั้งเรื่องความมั่นคง การดูแล “น้ำ” ตั้งแต่ยุคจารีตจนถึงรัฐสมัยใหม่ และการสืบราชสมบัติของราชวงศ์ไทย

“สังคมไทยเราเป็นสังคมการเกษตร การใช้น้ำ เป็นเรื่องที่มีความสําคัญต่อวิถีชีวิตของเรา การเพาะปลูกทําไร่ไถนา…การสัญจรคมนาคม เราใช้เรือ ใช้แพ เรื่องของประเพณีวัฒนธรรม

ในอดีต ด้วยความรู้ ด้วยประเพณีของเรา พระมหากษัตริย์ก็อาจจะต้องมีพิธีไล่น้ำ ฟันน้ำ มีพยุหยาตราทางชลมารค มีพระราชพิธีที่จะทําอย่างไรที่ฝนฟ้าจะตกต้องตามฤดูกาล มากไปน้อยไปก็ต้องบริหารจัดการตามคติในเวลานั้น”

นอกจากนี้ ยังพูดถึงเรื่องการขึ้นครองราชย์ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุการณ์บ้านเมือง เช่น กรณีของรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ว่า 

“ในหลวงรัชกาลที่ 4 เจ้าฟ้ามงกุฎในเวลานั้น รัชกาลที่ 3 มีสถานะเป็นพระองค์เจ้า เทียบกับเจ้าฟ้าไม่ได้เลย แต่ก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินก่อน ทําให้เห็นว่า การสืบราชสันตติวงศ์ของเรา ลูกที่มียศใหญ่ก็ควรจะได้ก่อน แต่คําว่าควร บางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น”

ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง ยังพูดถึงเรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ปรากฏในหนังสือทั้ง 3 เล่มนี้อีกหลายประเด็นด้วยกัน

จะเป็นอย่างไร ติดตามได้ใน Honor History: เล่าประวัติศาสตร์ราชวงศ์สยาม EP.2 ชวนอ่านประวัติศาสตร์ราชวงศ์ไทยในหนังสือชุด “กษัตราธิราช” ที่ YouTube : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 15 กรฎาคม 2567