“หอไอเฟล” วิทยาการเกือบ 2 ศตวรรษ สู่แลนด์มาร์กประเทศและชิ้นส่วนในเหรียญ “โอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024”

หอไอเฟล โอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024
Eiffel Tower and park, Paris, France, 1909 (ภาพ : www.loc.gov)

เมื่อนึกถึงประเทศฝรั่งเศส เชื่อว่าหลายคนต้องนึกถึง “หอไอเฟล” (Eiffel Tower) ขึ้นมาเสมอ เพราะหอไอเฟลถือเป็นวิทยาการทรงคุณค่าที่อยู่เหนือกาลเวลามาทุกยุคทุกสมัย อย่างในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024 ที่จัดขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เหล่านักกีฬาที่เดินขบวนพาเหรดก็ต้องเดินผ่าน “หอไอเฟล”

หอไอเฟล โอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024
หอไอเฟล โอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024 (ภาพ : https://olympics.com/en/paris-2024/venues/eiffel-tower-stadium)

หอไอเฟลวิทยาการเกือบ 2 ศตวรรษ

“หอไอเฟล” เป็นหนึ่งในวิทยาการที่จัดแสดงในงาน “นิทรรศการนานาชาติแห่งกรุงปารีส ค.ศ. 1889” เพื่อแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศ ได้แนวคิดมาจาก “มอริซ โคชแล็ง” (Maurice Koechlin) และ “เอมิล นูซิเยร์” (Emile Nougier) วิศวกรที่ทำงานให้กับกุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel)

การสร้างหอคอยแห่งนี้เกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1887-1889 จากแรงงานกว่า 300 ชีวิต ใช้ทรัพยากรมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเหล็ก 7,350 ตัน หรือหมุดยึดที่มีจำนวนมากถึง 2.5 ล้านตัว รวมไปถึงการใช้ทุนสร้างถึง 7.7 ล้านฟรังก์ เพื่อให้หอคอยแห่งนี้มีความสูงถึง 300 เมตร 

หอไอเฟลเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1889 ระหว่างงานมหกรรมโลกในปีเดียวกัน มีผู้เข้าชมหอคอยแห่งนี้กว่า 3.7 ล้านคน และด้วยความสวยงามอลังการและการตอบรับจากผู้คนทั่วมุมโลกนี้ จึงทำให้ฝรั่งเศศตัดสินใจคงหอไอเฟลไว้ จากเดิมที่มีความคิดจะรื้อถอนเมื่อครบ 20 ปี

“หอไอเฟล” จึงกลายมาเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของฝรั่งเศส ได้ฉายานามว่าเป็นสุภาพสตรีเหล็ก (the Iron Lady) และในการแข่งขัน โอลิมปิก ปารีสเกมส์ 2024 ก็มีการนำชิ้นส่วนไปผสมอยู่ในเหรียญรางวัลของนักกีฬา เสมือนได้นำหอไอเฟลกลับบ้านอีกด้วย

หอไอเฟลเมื่อแรกสร้าง (ภาพจาก AFP)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

https://www.britannica.com/topic/Eiffel-Tower-Paris-France

https://www.silpa-mag.com/history/article_64442


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 26 กรกฎาคม 2567