ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
ชวนรู้จัก “อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ที่ยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” แห่งล่าสุดของไทย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2567
อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท มรดกโลก
“อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” ตั้งบนภูพระบาท ในเขตพื้นที่ เมืองพาน อ. บ้านผือ จ. อุดรธานี กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ “ป่าเขือน้ำ” เมื่อ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2524
เหตุที่ทำให้ได้ชื่อว่า “ภูพระบาท” มาจาก “รอยพระพุทธบาท” ที่ประดิษฐานอยู่บนเทือกเขานี้
อุทยานแห่งนี้ไม่ได้มีเพียงรอยพระพุทธบาทเท่านั้น แต่ภายในยังมีเสาและเพิงหินทรายขนาดใหญ่ คาดว่าหินเหล่านี้น่าจะอยู่ในสมัยครีเทเชียส หรือราว 130 ล้านปีมาก่อน เมื่อวันเวลาผ่านไปก็ถูกกัดเซาะกลายมาเป็นหินรูปร่างงามเหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ จากการสำรวจทางโบราณคดี ยังค้นพบว่า บนภูพระบาทยังมีร่องรอยกิจกรรมของมนุษย์ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ กำหนดอายุได้ราว 2,500-3,000 ปี จากภาพเขียนสีที่มีมากกว่า 54 แห่งบนเขา ทั้งยังเจอ ศาสนสถาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการและสังคมของคนในภาคอีสานได้เป็นอย่างดี ทั้ง วัฒนธรรมทวารวดี วัฒนธรรมเขมร และวัฒนธรรมล้านช้าง รวมถึงรัตนโกสินทร์ ในรูปแบบเพิงหินอีกด้วย
“อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท” จึงเป็นอีกหนึ่งโบราณสถานสำคัญ ที่ตอนนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ล่าสุดของไทย
อ่านเพิ่มเติม :
- อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- จุดเริ่มต้นของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา สู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย มรดกโลกทางวัฒนธรรม
- ยลมรดกโลกทางธรรมชาติบรรจุปี 2019 ป่าโบราณในอิหร่าน ถึงเกาะห่างไกลแดนมนุษย์
- 2 กันยายน 2546 ไทยประกาศ ยูเนสโกยก “จารึกพ่อขุนรามฯ” เป็นมรดกความทรงจำของโลก
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
https://www.finearts.go.th/main/view/8217-อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
https://db.sac.or.th/museum/museum-detail/1081
http://virtualhistoricalpark.finearts.go.th/phuphrabat/index.php/th/
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567