ผู้เขียน | คนไกล วงนอก |
---|---|
เผยแพร่ |
เชื่อได้เลยว่า ชาวกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ ต้องเคยโดยสาร “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” กันอย่างน้อยสักครั้ง หรือไม่ก็ใช้บริการวินมอเตอร์ไซค์กันแทบทุกวัน ซึ่งเหตุผลที่นั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างก็แตกต่างกันไป อาจเพราะสะดวกรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา และยังลัดเลาะเข้าตรอกซอกซอยได้ง่ายกว่ารถยนต์ หรืออาจเพราะรถสาธารณะอย่างอื่นเข้าไม่ถึงที่พักอยู่ มอเตอร์ไซค์รับจ้างจึงตอบโจทย์การโดยสารมากที่สุด
หากดูประวัติ “มอเตอร์ไซค์รับจ้าง” แล้ว วินมอเตอร์ไซค์แรกๆ ในกรุงเทพฯ น่าจะเริ่มที่ “ซอยงามดูพลี” ย่านทุ่งมหาเมฆ ตามที่สมุดปกขาวทีดีอาร์ไอ 3 ฉบับที่ 4 เดือนเมษายน ปี 2537 อ้างถึง เรือเอกสมบูรณ์ บุญศักดิ์ อดีตผู้จัดการคิวมอเตอร์ไซค์ใน ซอยงามดูพลี ที่ให้สัมภาษณ์นิตยสาร Thailand Business เมื่อปี 2526 ว่า
“ในซอยงามดูพลีมีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น แฟลตทหารเรือซึ่งอยู่ห่างจากถนนพระรามสี่ถึง 0.8 ก.ม. มีคนอาศัย 300 ครัวเรือน และมีครัวเรือนอีก 200 ครัวเรือนในชุมชนที่ห่างจากถนน 1.2 ก.ม. คนเหล่านี้รายได้น้อย จึงไม่มีเงินจ้างแท็กซี่หรือค่าสามล้อเข้าออกซอย สมัยก่อนตอนเย็นคนเหล่านี้ต้องเดินเข้าซอยมืดๆ ซึ่งอันตรายเพราะมักมีการจี้ปล้นบ่อยๆ ในซอย ครอบครัวเหล่านี้จึงต้องคอยดูแลลูกหลานของตนเวลาเข้าออก…
“ในเดือนมิถุนายน 2524 นายทหารเรือกลุ่มหนึ่งจึงรวบรวมคนในแฟลตที่มีรถมอเตอร์ไซค์ มาตั้งเป็นชมรมมอเตอร์ไซค์แฟลตทหารเรือ เพื่อให้บริการรับส่งคนตอนเช้าและเย็น โดยคิดค่าโดยสาร 2-3 บาทต่อคน ในไม่ช้าบริการนี้ก็เริ่มเป็นที่นิยม ทำให้คนขับหาเงินได้มาก จึงเริ่มมีคนขับมาร่วมชมรมมากขึ้น จนกลายเป็นธุรกิจไป”
อ่านเพิ่มเติม :
- ก่อน ขสมก. กรุงเทพฯ เคยมีรถเมล์ขาว รถเมล์พีระ รถเมล์บุญผ่อง ฯลฯ
- “รถม้า” ลำปาง มาจากไหน? ทำไมมีรถม้าในคำขวัญเมืองลำปาง?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 มีนาคม 2567