เหตุใด “พระราชพงศาวดารเหนือ” ถึงได้ชื่อนี้ เกี่ยวข้องอะไรกับภาคเหนือหรือไม่?!

พระราชพงศาวดารเหนือ รัชกาลที่ 2 พระวิเชียรปรีชา (น้อย)
ภาพ : วิกิพีเดีย, pixabay

เมื่อพูดถึง “พระราชพงศาวดารเหนือ” หลายคนคงจะนึกว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ “ภาคเหนือ” เป็นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น ล้านนาหรือเชียงใหม่ แต่ที่จริงแล้วเหตุที่เรียก “พระราชพงศาวดารเหนือ” ไม่ได้หมายความเช่นนั้น 

แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของเชียงใหม่ ไม่ทราบปีที่ถ่าย ภาพจากหนังสือ “เมืองและแหล่งชุมชนโบราณล้านนา” โดยคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พ.ศ. 2539

พระราชพงศาวดารเหนือ

พระราชพงศาวดารนี้เป็นหลักฐานที่อยู่ในหอหลวง กรุงศรีอยุธยา เขียนบนสมุดข่อย เต็มไปด้วยเรื่องสั้นหลาย ๆ เรื่อง โดย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ รัชกาลที่ 2) เป็นแม่กองชำระพระราชพงศาวดารฉบับนี้ ก่อนที่ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร จะโปรดให้ “พระวิเชียรปรีชา” (น้อย) นักวิชาการประจำราชสำนัก ชำระความ

Advertisement

กลายมาเป็นพระราชพงศาวดารเหนืออย่างในปัจจุบัน

ภายในเล่มจะมีเรื่องราวมากมาย เช่น พระยาสักรดำตั้งจุลศักราช, การสร้างเมืองสวรรคโลก, สร้างพระชินสีห์ พระชินราช, พระนเรศวรหงสา และพระเจ้าอู่ทอง เป็นต้น 

แล้วเหตุใดถึงได้ชื่อว่าพระราชพงศาวดารเหนือ? เรื่องนี้ สุจิตต์ วงษ์เทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้เล่าไว้ในคลิป “‘อโยธยา’ ต้นกำเนิด “อยุธยา” เมืองเก่ากว่าสุโขทัย” ผ่านช่อง YouTube ของ ศิลปวัฒนธรรม (ชื่อช่อง : Silpawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม) ว่า

รัชกาลที่ 2 (ภาพจาก : wikicommon)

“…รัชกาลที่ 2 ก็โปรดให้พระยาวิเชียรปรีชา…ชำระไป…ก็ชำระออกมา แล้วเรียกว่าพงศาวดารเหนือ เพราะมันเริ่มต้นด้วยเรื่องราวของเมืองศรีสัชนาลัยกับเมืองสุโขทัย ในสมัยโน้น เขาเรียกเมืองเหนือ คือเมืองที่อยู่เหนือพระนครศรีอยุธยา เขาเรียกเมืองเหนือ ไม่ใช่ล้านนา ไม่ใช่เชียงใหม่ ล้านนาก็ล้านนาไป…

เป็นอันชัดแจ้งว่าเหตุใดพระราชพงศาวดารเหนือถึงได้ชื่อนี้ และสรุปได้ว่าไม่เกี่ยวข้องอะไรกับ ภาคเหนือ ทั้งนั้น…

 

 

อ่านเพิ่มเติม : 

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 มกราคม 2567