ผู้เขียน | สามัคคีชัย |
---|---|
เผยแพร่ |
ข่าวฝนตกหนัก น้ำรอระบายจำนวนมากยึดพื้นที่บนท้องถนน รถเล็กผ่านไม่ได้ น้ำท่วมบ้าน ฯลฯ ในช่วงนี้เป็นสิ่งที่ทำให้คนกรุงเทพฯ อกสั่นขวัญแขวนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะท่านที่เจอน้ำท่วมบ้านเมื่อปี 2554 รสชาตินี้จำได้ไม่เคยลืม แต่ที่จริงกรุงเทพฯ เผชิญกับสภาพเช่นนี้มาหลายต่อหลายครั้ง หนึ่งในนั้นคือ “น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ” ที่ จอมพล ป. เคยเขียนถึง
น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2485 ครั้งนั้น จอมพล ป. พิบูลสงคราม เขียนบทประพันธ์ เรื่อง “ข่าวชวนหัวตามน้ำท่วม” โดยใช้ชื่อว่า สามัคคีชัย ตีพิมพ์ใน ข่าวโคสนาการ ปีที่ 5 ฉบับที่ 10 ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ได้คัดมาลง ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ใช้ชื่อว่า “ข่าวชวนหัวตามน้ำท่วม ของ สามัคคีชัย” รายละเอียดมีดังนี้ [สะกดตามต้นฉบับ จัดย่อหน้าใหม่ และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ]
ที่บ้านฉันกลางนาบริเวณหลักสี่มีสาลาน้ำหยู่หลังหนึ่ง เวลานี้น้ำท่วม งูสามเหลี่ยมตัวโตถนัดได้เข้าไปนอนหยู่อย่างสบาย เลยทำให้สาลาน้ำนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไป เพราะกลัวงูกัดตาย
รองปลัดกะซวงกลาโหม น.อ.ยุทธสาตรโกสล บ้านหยู่พระโขนง งูสามเหลี่ยมตัวเท่าแขนได้ลอยเข้าไปที่นอกชาน ซาบว่า เจ้าของเลยขนของไปอาศัยหยู่ที่ตึกชั้นบนของห้างไวท์เอเวเก่า จนบัดนี้
อธิบดีกรมการสาสนาคนใหม่ นายพันเอกสารานุประพันธ์ เล่าไห้ฟังว่าน้ำท่วมนี้ก็ดีเหมือนกัน ไม่ต้องซื้อปลากิน เพราะที่ห้องรับแขกไนบ้านมีปลาหมอ ปลาสลิดเข้าไปมากเลยตกแกงกินสบาย งูก็เข้าไปเหมือนกันแต่ได้ตีตายสับเปนท่อนๆ ไส่กะป๋องเอาไปทิ้ง ผู้เล่าว่างูไม่ดี สู้ปลาไม่ได้
ท่านอธิบดีว่าการไปทำงานเสียเวลามาก เลยไม่ไปทำงานพิเสสเสียบ้าง เช่นตรวดข่าวที่กรมไปรสนีย์เพราะต้องไช้เวลาเดินทางไป 3 ชั่วโมงกลับ 3 ชั่วโมง โดยทางเรือหมดเวลาทำงานพอดี และคุยว่ามีรถยนต์ดำน้ำได้ 1 คัน แล่นไนน้ำได้ เลิกไช้ทีหลังคนอื่น เพราะการที่รถของอธิบดีคนนี้แล่นไนน้ำได้เปนพิเสส ไครเห็นรถแล่นไนน้ำเด็กๆ ว่าเปนรถ พ.อ.สารานุประพันธ์ตามๆ กัน
ท่านอธิบดีกรมตำหรวดเล่าไห้ฟังว่า น้ำท่วมขึ้นมาคนว่างงานเพราะไปทำอะไรไม่ได้เลย มีเรื่องแปลกๆ เล่ากัน วันหนึ่งท่านเล่าไห้ฟังว่ามีคนถามว่า ถ้าเวลา 8.00 น. เปนเวลาเคารพทงชาติต้องหยุดแสดงความเคารพ ถ้ากำลังวิ่งหนีตำหรวดหยู่จะไห้ทำหย่างไร ถ้าหยุด ตำหรวดจับ ถ้าไม่หยุดก็ไม่ได้เคารพทงชาติเปนการไม่รักชาติ มีผู้ตอบน่าฟังว่าไห้ดูตำหรวด ถ้าตำหรวดหยุดสแดงความเคารพก็ไห้หยุดด้วย ดังนี้เปนการไม่เสียเปรียบกัน การเคารพทงชาติฝังจิตใจชาวไทยเรามากแล้วน่าชมเชย
ฉันเห็นการประชุมคนะรัถมนตรี ย้ายมาประชุมที่ตึกไทยคู่ฟ้า เวลาจวน เวลาประชุมหรือเลิกประชุมตอนกลับของท่านรัถมนตรีดูเป็นการสนุกมาก ที่น่าตึกไทยคู่ฟ้า ตลาดน้ำเพราะมีเรือเล็กเรือน้อยต่างก็ตรงมาจอดรับท่านรัถมนตรี เป็นแพเต็มไปหมด เพราะน้ำท่วมเลยมีการรับประทานอาหารร่วมกันที่ตึกไทยคู่ฟ้าทุกครั้ง เพราะซาบว่ากลับไปรับประทานตามเคยไม่ได้ ไปทางเรือกินเวลาหลายชั่วโมง ส่วนมากของวาระประชุมก็เรื่องช่วยราสดรน้ำท่วม ท่านรัถมนตรีคลัง ควักเงินแจกพอไช้
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมาที่ทำเนียบ สามัคคีชัย ซาบว่า มีหนังสือพิมพ์ออกหนึ่งฉบับ เรียกว่า “ลูกสามัคคีชัย” บรรนาธิการคือ น.ส.จิระวัส ผู้ช่วยคือ น.ส.รัชนิบูรณ์ และ น.ส.พัทรบูรน์ ขาบฉบับละ 30 สตางค์เปนหนังสือพิมพ์ที่อ่านแล้วสนุกพอไช้ ขายดี มีข่าวสัมภาสน์นายกรัถมนตรีว่า วันนี้ท่านตกปลาบนบ้านหรือเปล่า นายกตอบว่าไม่ได้ตก เพราะเปนการบาป มีการสัมภาสน์ท่านผู้หยิงว่า รักลูกชายหรือลูกหยิงมากกว่ากัน ท่านผู้หยิงตอบว่ารักลูกหยิงมากกว่า เพราะลูกหยิงหยู่กับบ้าน เปนเพื่อนร่วมทุขสุงจิงๆ ลูกชายไม่ไคร่หยู่บ้าน เหล่านี้เปนต้น นี่เพราะน้ำท่วมไปไหนไม่ได้เลยทำไห้มีเวลาว่างดีเหมือนกัน
เมื่อ 13 ตุลาคม 2485 เช้ามืด ฉันเห็นนายกรัถมนตรีดีไจเพราะน้ำลดลงมากราว 8.00 น. เสส เมื่อตอนที่วิทยุอ่านเรื่องน้ำลดของสามัคคีชัยจบลง ซาบว่านายกรัถมนตรีไจไม่ดี เพราะพอฟังเรื่องน้ำลดลงจบน้ำก็ขึ้นท่วมบ้านท่านตามเคยไม่ตรงตามที่สามัคคีชัยเขียนไว้ ฉันซาบว่าวันหนึ่งปลัดกะซวงกลาโหมพูดโทรสัพท์กับนายกรัถมนตรีเล่าไห้ฟังว่าน้ำช่างขึ้นเร็วจิงๆ
เมื่อลงมือพูดโทรสัพท์นั่งบนม้าไนห้องรับแขก พอพูดเส็ดน้ำก็ขึ้นมาเปียกก้นเลยนั่งแช่น้ำพูดโทรสัพท์ น่ากลัวไฟฟ้าจะเดินเข้าตัวปลัดกะซวงกลาโหมจิง วันหนึ่ง ฉันไปที่คลอง 1 ภรรยานายช่างชลประทานเล่าไห้ฟังว่า ที่คลอง 1 นี้ เขาลือว่ามีจรเข้ขึ้นไปไล่คนที่บางลำพูพระนคร เรืองจรเข้กัดคนนี้มีมากแห่ง ที่นางเลิ้งก็จรเข้ขึ้นกัดคนบนถนน หน้าโรงตำหรวดสอบถามไปมาได้ความเปนเรื่องกะซิบว่า เปนข่าวราชการตำหรวดก็ได้
วันหนึ่งท่านผู้มีเกียรติผู้หนึ่งเล่าไห้ฉันฟังว่าได้นั่งเรือผ่านตู้ยามตำหรวดข้างทำเนียบสามัคคีชัย เห็นตำหรวดนั่งบนราวตู้ยาม เพราหนีน้ำ ท่านผู้เกียรติผู้นั้นจึงถามว่า เปนหย่างไรท่าน ตำหรวดยามตอบว่า น้ำท่วมจ้า ฟังไปคนละทาง ท่านผู้มีเกียรติผู้นั้นหยากซาบว่า ตำหรวดนั้นสบายดีหรือเพราะเปนห่วงจะเจ็บไข้ โดยต้องขึ้นไปนั่งบนราวตู้ยามตัวงอ แต่ตำหรวดตอบไห้ตรงกับเหตุการน์ เพราะเวลานี้น้ำท่วม จิตไจก็ฝันหยู่แต่น้ำ เลยรีบตอบว่าน้ำท่วมจ้า ดูเถอะ น้ำท่วมจนไครๆ ก็ฝันถึง แม้ตำหรวดยามก็ไช้คำว่านำท่วมแทนสวัสดีเสียด้วย
วันนี้ มีผู้มาเล่าให้ฟังว่า ต้องไปเปนตุลาการตัดสินระหว่างเรือกับรถชนกันไนถนน รถหลีกทางซ้ายถนนตามระเบียบ ส่วนเรือหลีกทางขวาตามระเบียบ เลยยันกันขึ้น ท่านผู้เล่านั้นว่าตัดสินลำบาก เพราได้หลีกถูกต้องด้วยกันทั้งคู่ เลยตัดสินเอาว่า ไครไม่มีไบอนุญาตไช้ถนนเป็นผิด เรือไม่มีไบอนุญาตสำหรับถนน มีไบอนุญาตสำหรับเดินไนแม่น้ำลำคลอง เลยตัดสินไห้เรือเปนฝ่ายผิด ตามคำตัดสินนี้ ฉันเองก็ไม่ซาบว่าหย่างไรจะถูกกดหมายแน่ แต่ฉันเห็นว่า ไม่ว่ารถหรือเรือถ้าเดินไนถนนต้องเดินและหลีกทางซ้ายเสมอ มิฉะนั้นจะเกิดชนกันหย่างที่ได้เล่ามาข้างต้นนี้
ฉันได้ซาบว่า มีบางท่านกล่าวเรื่องของสามัคคีชัยชอบฟัง ตั้งร้อยหนพันหนก็ไม่เบื่อ ฉันขอขอบคุนยิ่ง ยกตัวเองหน่อย เลยทำให้มีไจเขียนมากขึ้น เพราะไปไหนไม่ได้ด้วย ทีแรกก็เขียนการเมือง แล้วมาการทำมาหากิน ที่สุดลงมาเขียนเรื่องน้ำท่วมหลายหน มาบัดนี้เลยเขียนลงข่าวชวนหัวพาท่านหัวเราะได้บ้าง แทนที่ลุยน้ำ หรือนั่งกลุ้มไนบ้าน แม้มีบกพร่องล่วงเกินไปบ้าง ขอประทานอภัยด้วย
ก่อนจบขอเรียนไห้ซาบว่า น้ำที่หลักป้ายที่บ้านฉันตอนเช้าลงไปมากหย่างไจหายไม่น่าเชื่อ แต่พอตอนสายขึ้นมาเท่าเดิมเสมอ ฉันคิดว่าท่านเปนหย่างนี้อีกสักเดือนเห็นจะไม่ดีแน่ แต่นายมั่นนายคงว่าน้ำลดแล้ว เมื่อตอนค่ำวันนี้ฉันขอเตือนนายมั่นนายคง ไห้ดูระดับน้ำไนบ้านท่านไห้ดีๆ เพราะฉันเคยเข็ดมาแล้วพอพูดว่า ลดไม่ทันขาดคำท่านก็ขึ้นมาหย่างเดิมอีก
สวัสดี
สามัคคีชัย
18 ตุลาคม 2485
อ่านเพิ่มเติม :
- ภาพลักษณ์ “นักประชาธิปไตย-พ่อขุน” ซอฟต์พาวเวอร์ ที่ จอมพล ป. เลือกใช้
- จอมพล ป. เขียนเรื่อง “น้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ” ข่าวลือเรื่องจระเข้ ถึง “เรือชนกับรถบนถนน”
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
หมายเหตุ : บทประพันธ์ของท่าน สามัคคีชัย ที่คัดมานี้ ได้คงอักขรวิธีของสมัยนั้นไว้ทุกประการ ส่วนภาพประกอบทั้ง 4 ภาพนั้น ก็นำมาจากข่าวโคสนาการ ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 เช่นกัน คำบรรยายและอักขวิธีก็เป็นไปตามต้นฉบับเดิม
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 ตุลาคม 2560