ที่มา | หนังสือ สิบสองนักษัตร |
---|---|
ผู้เขียน | ส.พลายน้อย |
เผยแพร่ |
เสฐียรโกเศศ (นามปากกาของ พระยาอนุมานราชธน) ได้รวบรวม “เสียงไก่ขัน” ของชาติต่างๆ ไว้ ดังนี้
ฟังไก่มันขัน เราฟังว่า เอ้กอี๊เอ้กเอ้ก หรือเอ้กอี๊เอ้กเอ๊ก นี่เป็นเสียงไก่แจ้ ถ้าเป็นเสียงไก่อู ก็เป็นโอ้กอู้โอ้ก หรือโอ้กอุ้โอ้กฟังเพี้ยนเป็นโอ้อูอกอู คือท่านจะเอากูอีกดั่งในนิยายที่เล่ากัน ถ้าจะเปรียบเทียบไก่ร้องของชาติต่างๆ จะเห็นผิดกันเป็นต่างๆ ดังนี้
อังกฤษ Cock-a-doodle-doo
ฝรั่งเศส Coquelico] Coquericot
อิตาเลียน Cicerici
สเปน Quiquirqui
เดนมาร์ก Kykeliky
สวีเดน Kukeliqu
รูมาเนีย Cucuriya
กรีก Kikeriki
มลายู Kaluruk
ญี่ปุ่น โกเก้กก็ดก
จีน เก้กเก็กเก้ (กวางตุ้ง)
เช้กโก คุกคูรูกู
เขมร โก๊กุโกละโก (ไก่อู), เก๊กกิแกเกิด (ไก่แจ้)
พม่า เออิอีดอู๊ด
ฟิลิปปินส์ กั้กกะกาโอ๊ก
อินเดีย กร๊กโกร (เบงคาลี), ก๊กโก (มัทราส), กุ๊กกรูกรู (ปัญจาบ)
เสียงไก่ขัน ของชาติต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากหนังสือบ้าง สอบถามโดยตรงจากปากของชาตินั้นๆ บ้าง ซึ่งจดตามแต่ผู้บอกจะออกเสียง และผู้ฟังจะได้ยินไปอย่างไร แม้แต่ไก่ไทยขันเอ้กอี๊เอ้กเอ้ก หลานชายของข้าพเจ้ายังฟังเป็นโก๊กโก้โกไปได้ ถ้าโตขึ้นอาจฟังเป็นเอ้กอี๊เอ้กเอ้กก็ได้ ตามเสียงที่ได้ยินได้ฟังจากคนอื่นซึ่งแวดล้อมอยู่
อ่านเพิ่มเติม :
- “หมา” เริ่มเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์เมื่อไหร่? ทำไมถึงเลี้ยง?
- “คิงคอง” เป็นสัตว์กินพืชที่ปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงไม่ได้จึงสูญพันธุ์
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
หมายเหตุ : คัดเนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ สิบสองนักษัตร โดย ส.พลายน้อย, สนพ. มติชน, 2547
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 16 ธันวาคม 2564