“แอกเนส ชาน”นักร้องยุค70 ชาวฮ่องกง กับข้อเรียกร้องให้”คุณแม่ในญี่ปุ่น”ทำงาน-เลี้ยงลูกได้

แอกเนส ชาน (ชื่อจีนว่า เฉินเหม่ยหลิง) นักร้องชาวฮ่องกงที่โด่งดังในยุค 70 เธอเขียนประวัติของตัวเองใช้ชื่อ “อัตชีวประวัติแอกเนส ชาน” (สนพ.ประพันธ์สาส์น) ตอนหนึ่งของหนังสือที่ชื่อ “ข้อวิพากษ์เหมยหลิง” เพื่อเรียกร้องให้คณแม่ในญี่ปุ่นทำงานและเลี้ยงลูกไปได้พร้อมๆ กัน

เพราะช่วงต้นปี 1987 ผู้หญิงญี่ปุ่นที่แต่งงานแล้วมักออกจากงานมาเป็นแม่บ้านดูแลครอบครัว

แต่นั่นไม่ใช่เธอ ไม่เพียงไม่ออกจากงาน แอกเนส ชานยังเอาลูกไปเลี้ยงทำงาน (บริษัทผลิตรายการทีวีของเธอและสามี) เพื่อให้ลูกชายวัย 3-4 เดือน ได้กินนม แต่ผลสุดท้าย การกระทํานี้ไม่ใช่แค่ “ไม่มีปัญหา” หากแต่ เป็นการกระทําที่ทําให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมา! มันทําให้เกิดข้อวิพากษ์ครั้งใหญ่ขึ้นในประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางด้านสิทธิสตรีในญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “ข้อวิพากษ์แอกเนส (Agnes Controversy)” ส่งผลให้มีการยืดหยุ่นกับบรรดาคุณแม่ชาวญี่ปุ่นในเวลาต่อมา

เรื่องเกิดขึ้นหลังจากวันแรกที่เธอกลับมาอัดเสียงละครวิทยุ นักข่าวมาขอสัมภาษณ์เธอ นักข่าวถามว่า เมื่อมีลูกแล้วเคยคิดจะเลิกทํางานหรือไม่?

แอกเนส ชานตอบว่า “ไม่เคยคิดเลย! ทั้งในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง มีแม่จํานวนมากที่ยังทํางานอยู่ ที่จีนมีแม่พาลูกมาทํางานด้วยก็มีถมไป โรงงานที่มีพนักงานมากกว่า 500 คนส่วนมากก็สร้างโรงเรียนอนุบาล ให้ด้วย”

ความคิดทั้งสองข้อนี้ของแอกเนส ชาน สําหรับนักอนุรักษ์นิยมชาวญี่ปุ่นแล้ว ถือเป็นความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ พวกเขาคิดว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศเจริญแล้ว ไม่จําเป็นต้องใช้จีนเป็นแบบอย่าง และหน้าที่ของผู้หญิงที่ดีคือ ดูแลสามีและลูกๆ ไม่ใช่ไปปรากฏตัวในสังคมการทํางานของผู้ชาย

ตามมาด้วยข้อวิพากษ์วิจารณ์เริ่มขึ้นจากนักวิชาการและนักเขียนคอลัมน์ที่ไม่พอใจเธอ ว่า

“พาลูกมาทํางานด้วยจะทําให้คนอื่นรําคาญ”

“แล้วยังเป็นสิ่งที่ไม่ดีสําหรับลูกน้อย!”

“แต่งงานไปแล้ว มีลูกแล้ว ก็ควรอยู่บ้านเป็นแม่บ้านไป”

“ทั้งอยากมีลูก ทั้งอยากทํางาน ช่างเป็นคนโลภมากจริงๆ”

ในด้านหนึ่งนักเคลื่อนไหวสิทธิสตรีเสนอว่า “นี่ไม่ใช่แค่ปัญหา ของเฉินเหม่ยหลิง แต่เป็นปัญหาของคุณแม่ทุกคนที่ต้องประสบ”

ข้อวิพากษ์ในสังคมนับวันยิ่งรุนแรงขึ้น มีทั้งคนที่เห็นด้วยและ ไม่เห็นด้วย

ในปีนั้นอัตราการเกิดของทารกในญี่ปุ่นลดน้อยลง ดังนั้นเพื่อเพิ่มอัตราการเกิด สภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงผลักดันกฎหมายให้ความเท่าเทียมกันของชายและหญิง โดยหวังว่าจะสามารถช่วยเหลือสตรี (รวมไปถึงสตรีที่มีลูกแล้ว) ให้มีโอกาสเข้าทํางาน ตามแนวคิดที่ว่า เมื่อสตรีมีอิสระก็จะทําให้อัตราการเกิดของทารกสูงขึ้นได้

สภาฯ เชิญแอกเนส ชาน ให้มาเป็นบุคคลอ้างอิง เธอได้เสนอต่อสภาว่า “สังคมจะต้องพยายามเข้าใจสถานะและความยากลําบากของคุณแม่พาร์ตไทม์ให้มากขึ้น ต้องสนับสนุนสตรีที่กําลังหางานทํา และต้องยอมรับการดํารงอยู่ของเด็กๆ ในสถานที่สาธารณะ”

สุนทรพจน์ของเธอได้รับความสนใจจนกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมทันที สื่อฝ่ายค้านเริ่มโจมตีอย่างหนักอีกครั้ง ว่า

“ร้องเพลงก็ไม่ได้ดีอะไร ภาษาญี่ปุ่นก็พูดไม่ชัดเจน น่ารังเกียจมาก ไม่เข้าใจเลยว่าทําไมผู้คนถึงยังนิยมอยู่”

“เป็นเพียงนักร้องแต่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาสังคม ทําให้ ตัวเองดูเป็นคนมีวัฒนธรรม มีวิสัยทัศน์ ช่างบ้าบอคอแตก!”

“ตัวเองเป็นคนจีนแท้ๆ แต่กลับชี้นําสังคมญี่ปุ่นของพวกเรา ช่างกล้ายิ่งนัก น่ารังเกียจ!”

“เธอเป็นแม่ที่แย่มาก!”

ประเด็น “ข้อวิพากษ์เหม่ยหลิง” กินเวลายาวนานกว่าสองปี จนกระทั่งปี 1988 เกิดคําใหม่ยอดนิยมขึ้นในสังคมญี่ปุ่น นั่นคือ “สาธารณชน”

การทํางานของแอกเนส ชาน ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป เพราะคนจํานวนมากให้การสนับสนุน ด้านกระแสเรตติ้งละครวิทยุและโทรทัศน์ของเธอขึ้นสูงมาก แต่การโจมตีทุกๆ วันจากฝ่ายคัดค้าน แม้จะมากบ้างน้อยบ้าง ที่ทําให้สภาพจิตใจของเธอย่ำแย่ลงทุกที

วันหนึ่งเมื่อแอกเนส ชาน กลั้นน้ำตาไม่อยู่และร้องไห้ออกมา คาเนโกะ[สามีของเธอ] ได้พูดกับเธอว่า “คุณควรเชื่อมั่นในความรู้สึกของชาวญี่ปุ่น หากการกระทําของคุณถูกต้อง อีกไม่นานพวกเขาจะต้องสนับสนุนแน่นอน คุณควรใช้ชีวิตเพื่อพิสูจน์ให้พวกเขาเห็นว่าสิ่งที่คุณกําลังทําอยู่นั้นมันถูกต้อง เพื่อสตรีในยุคถัดไป คุณต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพวกเขา”

แอกเนก ชาน ก้มหน้าลงครุ่นคิดกับคำว่า “ใช้ชีวิตของฉันพิสูจน์ให้ได้” ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะชีวิตคนเรามีหลายสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับได้ แต่เธอก็รู้ว่าคำพูดของคาเนะโกะมีเหตุผลมากเช่นกัน

“ถ้าแม่พาร์ตไทม์อย่างฉันเกิดยอมแพ้ อาจกลายเป็นระเบิดสำหรับสตรียุคถัดไป แต้ถ้าฉันประสบความสำเร็จ ทุกอย่างจะกลายเป็นแรงผลักดันที่คุ้มค่า…”

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : บทความนี้เขียนเก็บความจาก แอกเนส ชาน-เขียน, ศิรินทิพย์ จริยคุณ-แปล. อัตชีวประวัติแอกเนส ชาน. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น 2562.


แก้ไขปรับปรุงในระบบออนไลน์ล่าสุดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566