ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
“ขายผ้าเอาหน้ารอด” เป็นสำนวนไทย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า “ยอมเสียสละแม้แต่ของจำเป็นที่ตนมีอยู่ เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้, ทำให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อรักษาชื่อเสียงของตนไว้”
แล้วสำนวนนี้เกี่ยวอะไรกับผ้า?

“ผ้า” ในอดีตเป็นสิ่งของมีค่า กว่าจะได้ผ้าแต่ละผืนนั้นต้องแลกมาด้วยความยากลำบาก ทั้งในแง่ของเวลาและความปราณีตให้ได้ความสวยงาม ส่วนใหญ่แล้วคนในอดีตมักทักถอผ้าในวันสำคัญของตนเอง
ผ้าในสำนวนนี้จึงเกี่ยวโยงกับผ้าที่มีความสำคัญในชีวิตของคนเรา เช่น ผ้าที่ทอขึ้นเพื่อใส่ในงานแต่ง งานพิธีกรรม การขายผ้าพวกนี้จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ แต่มีสิ่งที่ยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าผ้าพวกนั้นก็คือ “หน้า” ของคนเป็นเจ้าของ
สำนวนนี้จึงเปรียบกับการต้องขายผ้าอันเป็นที่รักของเจ้าของ เพื่อแลกกับสิ่งที่สำคัญกว่านั่นก็คือการรักษาหน้า
เป็นที่มาของสำนวนนี้นั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม :
- “ช้างป่าต้น คนสุพรรณ” สำนวนนี้ชื่นชมหรือบูลลี่?
- “ชักแม่น้ำทั้งห้า” หนึ่งในสำนวนไทย “แม่น้ำทั้งห้า” มีแม่น้ำอะไรบ้าง?
- รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา สำนวนไทยนี้มาจากไหน เกี่ยวอะไรกับ “จั่ว” และ “เสา”
- “บ่างช่างยุ” สำนวนนี้เป็นมาอย่างไร “บ่าง” คือตัวอะไร แล้วไปยุใคร ?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
http://legacy.orst.go.th/?knowledges=ขายผ้าเอาหน้ารอด-๒๒-พฤษภ
https://www.thaipbs.or.th/program/ArtandCultureThaiPBS/watch/xbWLv5
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 มีนาคม 2568