สำเนียง “เหน่อ” ของสุพรรณ ที่เรียกว่า “เหน่อสุพรรณ” มาจากไหน?

ประกอบ เหน่อสุพรรณบุรี
เมื่อภัยโจรลามไปทั่วสุพรรณ แม้แต่ที่ตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า ยังมีหอดูโจร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2477

สำเนียง “เหน่อ” ของสุพรรณ ที่เรียกว่า “เหน่อสุพรรณ” มาจากไหน?

เหน่อ หมายถึง เสียงพูดเพี้ยนไปจากสำเนียงที่ถูกถือว่าเป็นมาตรฐาน เช่น เสียงเหน่อ, พูดเหน่อ [สรุปจากพจนานุกรม ฉบับมติชน พ.ศ.2547 หน้า 933] ลาวเรียก เหน้อ เช่น เสียงเหน้อ พูดเหน้อ [สรุปจากสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษโดย ปรีชา พิณทอง พ.ศ.2532 หน้า 894]

แนวกำแพงเมือง คูนํ้า เมืองสุพรรณภูมิ
แนวกำแพงเมือง และคูนํ้าเมืองสุพรรณภูมิ (ภาพจาก Matichon Academy)

เหน่อสุพรรณ หมายถึง เสียงพูดของชาวสุพรรณบุรี เพี้ยนไปจากสำเนียงที่ถูกถือว่ามาตรฐาน สำเนียงมาตรฐาน ของยุคปัจจุบัน คือสำเนียงบางกอก เริ่มอย่างกว้างๆ ตั้งแต่หลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พ.ศ. 2325

“เหน่อ” สุพรรณมาจากไหน?

ต้นมะละกอที่จังหวัดสุพรรณบุรี ถ่ายโดย Robert Larimore Pendleton เมื่อ ค.ศ. 1936 หรือ พ.ศ. 2479 (ภาพจาก University of Wisconsin-Milwaukee Libraries)

มีร่องรอยหลายอย่างที่ชวนให้เชื่อว่า มาจากสำเนียงลาวลุ่มน้ำโขง ซึ่งเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางคมนาคมการค้าเข้าลุ่มน้ำน่าน-ยม (ภาคตอนบน) แล้วลงฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา (ภาคกลาง ตอนล่าง) ดังนี้

1. สำเนียงชาวหลวงพระบางปัจจุบันใกล้เคียงมากกับสำเนียงเหน่อสุพรรณ

2. เส้นทางคมนาคมจากลุ่มน้ำโขง ลงฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านลุ่มน้ำเลย (จ.เลย) ลุ่มน้ำน่าน (จ.อุตรดิตถ์-พิษณุโลก) ลุ่มน้ำยม (จ.สุโขทัย) ปัจจุบันท้องถิ่นเหล่านี้พูดสำเนียงเหน่อ โดยเฉพาะ จ.เลย ใกล้ทางหลวงพระบาง

3. นิทานขุนบรม มีลูกชาย 7 คน แยกย้ายไปก่อบ้านสร้างเมือง คนโตไปอยู่เมืองหลวงพระบาง คนที่ห้าไปอยู่เมืองอโยธยา หมายถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณสุพรรณภูมิถึงอโยธยา

เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมว่าอำนาจของภาษาและวัฒนธรรมไต – ไท เคลื่อนที่จากลุ่มน้ำโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 มกราคม 2561