ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ภาพ “สงกรานต์” หนี่งในภาพพระราชพิธีสิบสองเดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ช่างหลวงวาดไว้ภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม หรือ “วัดราชประดิษฐฯ” เพื่อบันทึกภาพเหตุการณ์ “พระราชพิธีสงกรานต์” ในอดีต สมัยรัชกาลที่ 4 และในสมัยรัชกาลที่ 5
พระราชพิธีสงกรานต์ เริ่มขึ้นเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า ถือเป็นวันปีใหม่ของไทย พระราชพิธีสงกรานต์แบ่งออกเป็นสามวัน คือ วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ตามลําดับ
ระหว่างสามวันนี้จะมีการพระราชกุศลก่อพระทรายและการถวายข้าวบิณฑ์ และยังมีพระราชพิธีสรงมุรธาภิเษกในวันสงกรานต์ อันเป็นธรรมเนียมมีมาแต่โบราณที่พระเจ้าแผ่นดินจะต้องสรงมุรธาภิเษกในวันเถลิงศก เพื่อความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่
ประกาศสงกรานต์ ปีมะเส็ง นพศก ซึ่งเป็นประกาศสงกรานต์ฉบับแรก ในสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2399 ประกาศให้ข้าราชการและราษฎรทําบุญให้ทานในช่วงเวลาสงกรานต์เหมือนที่เคยทํากันมา แต่ทรงเพิ่มเติมพิธีสังเวยพระสยามเทวาธิราช และการเลี้ยงอาหารข้าราชการ พ่อค้า ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ตลอดจนมิชชันนารี
แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ในช่วงต้นรัชกาลได้ทรงยกเลิกการเลี้ยงอาหารข้าราชการและพ่อค้าที่รัชกาลที่ 4 โปรดให้ตั้งขึ้น เนื่องจากผู้เข้าร่วมงานเลี้ยงขอให้เลิก แล้วโปรดให้มีการเลี้ยงปีใหม่เฉพาะพระบรมวงศานุวงศ์ขึ้นมาแทน
ในช่วงสงกรานต์นอกจากจะเป็นงานพระราชพิธีแล้ว ยังเป็นประเพณีของราษฎรที่สืบทอดมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจําทุกปี
ส่วน “สงกรานต์” จิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารหลวง วัดราชประดิษฐฯ ภาพการพระราชพิธีเดือนห้า (เดือนเมษายน) มีรายละเอียดภาพ “พระราชพิธีสงกรานต์” ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม :
- บรรยากาศสงกรานต์อีสาน ยุค ร.5 เล่นน้ำกันเละเทะ สาดตั้งแต่โคลนเลน ยันน้ำครำ!?
- สงกรานต์ไทย-โจลชนำทเม็ยเขมร เหมือน-ต่าง กันอย่างไร?
- สงกรานต์ 3 วัน 13-15 เม.ย. เริ่มมีเมื่อใด ปีใหม่ไทยในอดีตเปลี่ยนไปมา ชาวบ้านตามตรวจดูวันเอง
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
____________________________________________________________________________
เอกสารอ้างอิง
ฉัตรบงกช ศรีวัฒนสาร. การพระราชพีธีสิบสองเดือนในจิตรกรรมฝาผนังวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2546.
พิชญา สุ่มจินดา. ราชประดิษฐพิพิธทรรศนา. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามจัดพิมพ์ พ.ศ. 2555.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 14 เมษายน 2567