ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
“สะพานควาย” เป็นอีกย่านในกรุงเทพมหานคร ที่เดิมถือว่าอยู่ชานเมือง ไม่ค่อยมีผู้คนอยู่อาศัยหนาแน่น แต่เมื่อการพัฒนาด้านต่างๆ ขยายตัว ทุกวันนี้จึงเป็นย่านที่เดินทางสะดวก ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของกินอร่อยมากมาย
พื้นที่นี้ในปัจจุบัน หมายถึงพื้นที่บริเวณสี่แยกที่ถนนประดิพัทธ์เชื่อมต่อกับถนนพหลโยธินและถนนสุทธิสารวินิจฉัย
แต่เดิม บริเวณริมถนนพหลโยธินมีสภาพเป็นทุ่งนา มีคลองส่งน้ำที่แยกมาจากคลองบางซื่อขนานไปกับถนน จึงต้องสร้าง “สะพาน” ข้ามคลองส่งน้ำ เพื่อเป็นทางเข้าออกทุ่งนา
พอถึงหน้าแล้ง ก็จะมีผู้นำฝูงวัวควายจากต่างจังหวัดเข้ามาพักที่ท้องทุ่งแห่งนี้ เพื่อรอขายวัวควายให้ชาวนาและพ่อค้าจากโรงฆ่าสัตว์ในกรุงเทพฯ อยู่เป็นประจำ ชาวบ้านจึงเห็นภาพวัวควายเดินผ่านเข้าออกบนสะพานข้ามคลองส่งน้ำจนชินตา จึงเรียกสะพานนี้ว่า “สะพานควาย”
จากชื่อเรียกสะพาน ก็ขยายเรียกเป็นชื่อย่านและชื่อแยกในที่สุด
อ่านเพิ่มเติม :
- กว่า 500 ปีก่อน ชุมชนเก่าแก่ของกรุงเทพฯ อยู่ที่ไหนบ้าง ?
- กรุงเทพฯ สมัยรัชกาลที่ 1 ผ่านฟ้าเปลี่ยวสุด พญาไทมีโขลงช้าง
- “บางพลัด” ชื่อย่านในกรุงเทพฯ มาจากภาษามลายู แหล่งต้นกะพ้อ?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร. บางกอก บอกเล่า (เรื่อง). นนทบุรี : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด (ชสท.), 2554.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567