คนใดที่ถูกเจียว! “ไข่เจียว” เมนูกินง่ายขวัญใจคนไทย “เจียว” ในที่นี้คือภาษาอะไร

ไข่เจียว เจียว พรหมลิขิต โป๊ป เบลล่า
ภาพ : Ch3Thailand

ใน “พรหมลิขิต” ละครสุดฮิตติดเทรนด์ที่ฉายผ่านช่อง 3 ปรากฏฉากที่ พุดตาน (รับบทโดย เบลล่า ราณี แคมเปน) กำลัง “เจียว” ไข่เจียวจนฟูกรอบ หอมฟุ้งกลิ่นตลบอบอวนไป 3 บ้าน 8 บ้าน พร้อมให้เหล่าบรรดาแขกและเจ้าบ้านได้ลิ้มลองอาหารฝีมือของตนเอง ด้วยการกินที่ง่ายและมีวัตถุดิบที่ไม่มากนัก จึงทำให้ “ไข่เจียว” เป็นอาหารขวัญใจคนไทยตลอดกาล เพราะไม่ว่าจะเป็น คุญหญิงการะเกด หรือ พุดตาน ต่างก็ทำให้ชาวอยุธยาได้สัมผัสรสชาติแปลกใหม่ที่อร่อยจนลืมไม่ลง

แล้วเคยสงสัยไหมว่า คำว่า “เจียว” อย่างเจียวไข่ที่ดูจะไม่เหมือนคำไทย เป็นคำภาษาอะไรกันแน่? 

จากเว็บไซต์ของชุมชนชาวฮากกา ซึ่งอ้างอิงถึงข้อมูลใน จดหมายข่าว อาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับที่ 28 (ธันวาคม 2547) อธิบายว่า “เจียว” (焦) เป็นคำจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ความกรอบและไหม้ของอาหารหรือของทั่วไป ซึ่งทำด้วยการใช้น้ำมันร้อนในปริมาณที่ไม่มาก 

คำว่า “เจียว” จึงน่าจะเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว ใช้ในบริบทการทอดอาหารให้สุกในน้ำมันร้อน ๆ 

ไม่แปลกใจนักที่คำว่า “เจียว” ในที่นี้จะมาจากภาษาจีน เนื่องจากในสมัยก่อนคนไทยต่างได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนอยู่แล้ว เช่นเดียวกับ “กระทะ” จากจีนที่แพร่หลายจนชาวสยามนำไปใช้ประกอบการปรุงอาหาร และในเวลาต่อมากระทะบางเฉียบจากชาวจีนนี้ก็กลายมาเป็นอุปกรณ์สำคัญในการปฏิวัติอาหารไทย 

อ่านบทความ : เจียว (焦) ไข่ เมื่อคำจีนกลายเป็นคำไทย คำ “เจียวไข่” มาจากไหน เต็ม ๆ ที่นี่!!

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2566