“ตกฟาก” ไฉนเป็นคำเรียกเวลาเด็กออกมาลืมตาดูโลก?

อยู่ไฟ คลอด ลูก ตกฟาก
อยู่ไฟหลังออกลูกของผู้หญิงภาคเหนือ จิตรกรรมประเพณีชีวิตจากวัดห้วยริน ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

“ตกฟาก” ใน พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง การเกิดหรือเวลาที่แม่ คลอด เด็กออกมาลืมตาดูโลก

ทำไมตกฟากถึงใช้ในความหมายนี้?

Advertisement

ต้องบอกว่าเดิมที คนสมัยก่อนเมื่อจะปลูกบ้านเรือน มักใช้ “ฟาก” หรือ “สับฟาก” (ไม้ไผ่สีสุก นำมาสับแล้วแผ่ออกเป็นแผ่นคล้ายกระดาน) มาเป็นพื้นเรือนเพื่อปูนอน เนื่องจากเย็นสบาย รับกับทรงบ้านในสมัยนั้นที่เป็นไม้ยกพื้นสูง ซึ่งลมเย็น ๆ ตรงใต้ถุนก็จะพัดผ่านร่องไม้ไผ่ช่วยคลายร้อนให้คนในบ้าน 

เมื่อหญิงสาวจะคลอดลูก จึงได้นำพื้นเรือนดังกล่าวมาปรับใช้ โดยพวกเขาจะทำเตียงชั่วคราวหรือฟาก เตรียมไว้อยู่ไฟ เนื่องจากซี่ร่องดังกล่าวจะช่วยปัดเป่าความร้อน เพิ่มความเย็นสบาย ทั้งยังสามารถพัดพาเลือดและน้ำสกปรกต่าง ๆ ลงไป ทำให้เช็ดล้างได้สะดวก 

เด็กที่คลอดออกมาในยุคโบราณจึงเรียกว่า “ตกฟาก” เนื่องจากตอนเด็กออกมาจะตกลงมายังฟากที่เตรียมไว้อยู่ไฟ และเวลาที่ทารกออกมาลืมตาดูโลกก็เรียกว่า “เวลาตกฟาก” ซึ่งผู้ใหญ่จะนำช่วงเวลาดังกล่าวไปดูดวงโหราศาสตร์ เพื่อทำนายชะตาของเด็กคนนั้นต่อไป

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

https://www.matichonweekly.com/column/article_556401


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566