ตีเกราะ เคาะกะละมัง ปรากฏการณ์วัน “จันทรุปราคา” ไล่ราหูอมจันทร์ที่เป็นลางร้าย?

ราหูอมจันทร์ พระราหู พระจันทร์
ภาพจินตนาการของราหูอมดวงสว่าง เทียบลักษณะได้กับการเกิดสุริยุปราคาบางส่วน ตีพิมพ์ใน National Geography ฉบับ พ.ศ. 2535 (ภาพจาก ศิลปวัฒนธรรม ฉบับตุลาคม 2538)

ตีเกราะ เคาะกะละมัง ปรากฏการณ์วัน “จันทรุปราคา” ไล่ “ราหูอมจันทร์” ที่เป็นลางร้าย?

จันทรุปราคา ในทางดาราศาสตร์เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นในวันดวงจันทร์เต็มดวง ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ที่สะท้อนผิวของดวงจันทร์ มืด หรือจางลงในชั่วเวลาหนึ่ง ขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่เข้าไปในเงาของโลก ทำให้เห็นดวงจันทร์เป็นสีค่อนข้างคล้ำออกแดงหรือน้ำตาล

Advertisement

คนไทยสมัยก่อนมีความเชื่อเรื่อง “จันทรุปราคา” แตกต่างกันไปตามของท้องถิ่น แต่บางส่วนก็คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะที่ถือว่าเป็นลางบอกเหตุที่ไม่ดี

ความเชื่อเรื่องจันทรุปราคา แต่ละพื้นที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปเช่น กบกินเดือน ราหูอมจันทร์ ฯลฯ วิธีการปฏิบัติก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อ บ้างก็เชื่อว่าผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ให้นำเข็มกลัดมากลัดเสื้อ เพื่อป้องกันลูกที่คลอดมาตาเหล่ ในบางพื้นที่จะมีกิจกรรมเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายนั้นด้วย จะต้องช่วยกันไล่ให้พระราหูหรือกบที่กำลังอมดวงจันทร์อยู่นั้นคายดวงจันทร์ออกมา โดยการตีปี๊บ ตีเกราะ เคาะไม้ เคาะกะละมัง หรือทำเสียงดัง บางท้องถิ่นก็เชื่อว่าระหว่างเกิดจันทรุปราคา ให้เอามีดพร้าเฉาะลงบนเปลือกไม้ เพื่อให้ต้นไม้ออกลูกผลดี

ปัจจุบัน ความเชื่อเหล่านี้ก็ค่อยๆ จางหายไปกับคนรุ่นเก่า ไม่นานคงเหลือเพียงคำบอกเล่าให้ลูกหลานรุ่นเราๆ ได้ฟังกันเท่านั้น 

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 ตุลาคม 2566