เผยแพร่ |
---|
การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวสร้าง “สื่อรณรงค์รักษ์โลก” พิพิธภัณฑ์ชื่อดังในสเปน จับมือกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature) หรือ WWF ใช้ภาพวาด “พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน” อันลือลั่นเป็นสื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่อง สิ่งแวดล้อม
พิพิธภัณธ์ Prado ในประเทศ จับมือกับ WWF ในภูมิภาคนำภาพเขียนมีชื่อมาดัดแปลง จากภาพที่ดูงดงามกลายเป็นภาพที่สื่อสารถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างการรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมบนโลกก่อนหน้าการประชุม COP25 ซึ่งจะมีผู้นำทางการเมืองและทางการทูตจากทั่วโลกมาเข้าร่วม ซึ่งเดิมทีแล้วมีกำหนดจัดขึ้นที่ชิลี แต่เนื่องจากเหตุความไม่สงบ จึงเปลี่ยนสถานที่มาจัดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน
ภาพที่ถูกนำมาดัดแปลงภาพแรกคือ “พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งสเปน บนหลังม้า” วาดโดย ดิเอโก เบลาเกวซ (Diego Velázquez) ในช่วงค.ศ. 1635-36 เป็นหนึ่งในงานชุดที่วาดภาพชนชั้นนำในท่วงท่าขี่ม้า นำมาประดับในอาคาร ภาพนี้เจาะจงสร้างความตระหนักเรื่องการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
https://www.facebook.com/WWFEspana/videos/545408242967086/
ภาพต่อมาคือ “ร่มกันแดด” (The Parasol) โดยฟรานซิสโก เก โกยา (Francisco de Goya) ซึ่งเดิมทีแล้วเป็นหนึ่งในชุดภาพวาดที่ถูกสร้างเพื่อนำมาใช้เป็นภาพประดับผนังในพระราชวัง El Pardo ในสเปน ภาพนี้ก็ถูกดัดแปลงจากภาพเดิมที่เป็นสตรีใต้ร่มกันแดดกลายเป็นสตรีในค่ายผู้ลี้ภัยที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
https://www.facebook.com/WWFEspana/videos/802617090174390/
และภาพ “ทิวทัศน์และแครอนข้ามแม่น้ำสติกซ์” โดยโยอัคคิม พาทินีร์ (Joachim Patinir) ซึ่งแสดงให้เห็นภูมิทัศน์ทางธรรมชาติที่มีแหล่งน้ำ ป่า ภูเขาที่เขียวขจีกลายเป็นแหล่งน้ำเหือดแห้ง ส่วนพืชที่เขียวขจีก็ล้มตายเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
https://www.facebook.com/WWFEspana/videos/487591145189506/
ส่วนภาพ “เด็กชายบนหาด (Boys on the Beach)” โดยโยอาควิน โซโรลลา (Joaquín Sorolla) อันเป็นภาพเด็กผู้ชายนอนบนผิวน้ำบนหาด กลับกลายเป็นสภาพชายหาดที่น้ำเหือดแห้ง เต็มไปด้วยปลาที่เกยตื้น
https://www.facebook.com/WWFEspana/videos/2394821674180910/
คลิกอ่านเพิ่ม:
- “ร้อนราวนรก” สภาพอากาศอินเดีย ที่คนของอาณานิคมอังกฤษต้องเผชิญ
- “หมอกควัน” เหตุหายนะครั้งใหญ่ คร่าชีวิตชาวลอนดอนนับหมื่น รัฐบาลทำยังไง?
แก้ไขปรับปรุงในระบบออนไลน์ล่าสุดเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2566