ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เมื่อ สุโขทัย เจริญรุ่งเรืองขึ้นแล้ว ราชธานีภาคกลาง หรือกรุงศรีอยุธยาก็อยู่ในแหล่งสืบทอดความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง จากศิลปวัฒนธรรมขอมสมัยเมืองพระนคร จึงมีการปรับปรุงลักษณะของปราสาทแบบขอมในศิลปะลพบุรี หรือ ปรางค์ขอม ก่อนจะเกิด “เจดีย์ทรงปรางค์ของกรุงศรีอยุธยา” ที่รวบรวมความสวยงามของเจดีย์ 3 ราชธานี
เจดีย์ทรงปรางค์ของกรุงศรีอยุธยา ถือเป็น เจดีย์รูปแบบหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับ รูปแบบเจดีย์จาก 3 ราชธานี ได้แก่ เชียงใหม่ (ล้านนา), กรุงศรีอยุธยา และสุโขทัย ซึ่งความข้องเกี่ยวดังกล่าวนั้น ปรากฏให้เห็นผ่านความวิจิตรงดงามของตัวเจดีย์
ตั้งแต่ ทรงแท่งเหลี่ยมหยัก มุมคล้ายทรงฝักข้าวโพดจากอยุธยา ไล่มาถึงฐานสี่เหลี่ยมหลายชั้น ตั้งซ้อนลดหลั่นรองรับทรงแท่งหยักมุมที่สุโขทัย และ มีทรงดอกบัวตูมเป็นยอดเจดีย์ทรงระฆังของเชียงใหม่ หรือล้านนา รวมไปถึง มีทรงแท่งหยักมุม รองรับทรงสูง ทั้งหมดนี้ สะท้อนสุนทรียภาพที่แตกต่างของศิลปะแต่ละราชธานีทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม เจดีย์ดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่พื้นที่เดิมของสุโขทัย และได้รับความนิยมอย่างมาก ในหมู่คนไทย เช่น พระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง จ. สุโขทัย, วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จ. พิษณุโลก เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม :
- ร.6 ทรงบันทึก ทอดพระเนตร ปาฏิหาริย์ “พระปฐมเจดีย์” สว่างโพลงทั้งองค์
- ทำไม “เจดีย์จุฬามณี” ถึงเป็นชื่อเจดีย์ยอดนิยม?
- เกร็ดความรู้ องค์ประกอบ “เจดีย์ทรงระฆัง” บัลลังก์ ปล้องไฉน มาลัยเถา มีที่มาจากไหน
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
สันติ เล็กสุขุม. “คำช่าง ทรงระฆัง, บัลลังก์, ปล้องไฉน, มาลัยเถา”, ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมกราคม 2540.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ (แบบเว็บไซต์) ครั้งแรกเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2567