13 สิงหาคม 2504 “กำแพงเบอร์ลิน” แยกคนชาติเดียวกัน ให้เป็น 2 ประเทศ

กำแพงเบอร์ลิน เยอรมนี สงครามเย็น
Berlin Wall, Niederkirchnerstraße, Berlin 1988

วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 กำเนิด “กำแพงเบอร์ลิน” แยกเยอรมนีตะวันออก-เยอรมนีตะวันตก แยก เยอรมนี ให้เป็น 2 ประเทศ ในห้วงสงครามเย็น

ภายหลังการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) กองทัพนาซีเยอรมัน โดยการนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เป็นฝ่ายแพ้ 4 ชาติมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ายึดครองโดยแบ่งเยอรมนีเป็น 2 ประเทศ โดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ปกครองประเทศเยอรมนีตะวันตก ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ขณะที่สหภาพโซเวียต(รัสเซีย) ปกครองประเทศเยอรมนีตะวันออก ใช้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์

การแบ่งคนชาติเดียวเป็น 2 ประเทศ ก็เริ่มขึ้น

ผู้คนที่เคยเดินทางไปมาติดต่อกันได้โดยเสรี เริ่มถูกจำกัดและกวดขันเข้มงวดในการข้ามพรมแดน จนนำไปสู่การลักลอบเข้าประเทศ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นคนในเยอรมันตะวันออกหนีไปเยอรมันตะวันตก โดยเฉพาะใน พ.ศ. 2504 เมื่อมีข่าวว่าเยอรมันตะวันออกจะปิดกั้นพรมแดนระหว่าง 2 ประเทศ จำนวนคนอพยพไปเยอรมนีตะวันตกก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น จนเกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในเยอรมันตะวันออก

กำแพงเบอร์ลิน เยอรมนี สงครามเย็น
1. บางส่วนของกำแพงเบอร์ลิน 2.อนุสรณ์สถานผู้เสียชีวิตที่พยายามจะข้ามกำแพงหลบหนี 3. ทหารเยอรมันตะวันออกยืนประจำการใกล้ๆ พื้นที่ก่อกำแพงเบอร์ลิน ในวันที่ 13 สิงหาคม 2504 (ภาพจากวิกิพีเดีย)

วันที่ 13 สิงหาคม 2504 “กำแพงเบอร์ลิน” ก็เกิดขึ้น

ในระยะแรกกำแพงเบอร์ลินที่กั้นระหว่างเบอร์ลินตะวันออก-ตะวันตกนั้นเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ยๆ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน และกลายเป็นกำแพงคอนกรีตที่แน่นหนาในที่สุด อาคารสูงที่อยู่ใกล้กำแพงจะต้องก่ออิฐปิดตายหน้าต่างทั้งหมดด้วย แต่ไม่ว่ากำแพงจะสูงหรือแข็งแรงเพียงใด ก็ยังมีคนเสี่ยงหลบหนีข้ามกำแพงที่แลกด้วยชีวิต เพราะถ้าถูกตรวจพบจะยิงทิ้งทันที คนจำนวนไม่น้อยจึงต้องสังเวยชีวิตที่กำแพงเบอร์ลิน

28 ปี ให้หลัง สายลมก็เปลี่ยนทิศ

เมื่อแรงกดดันดันจากชาติตะวันเพิ่มขึ้น, การประท้วงของประชาชนในเยอรมนีตะวันออก และปัญหาภายในสหภาพโซเวียตเอง สุดท้ายผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์เจอล่มสลาย หมดยุคของ สงครามเย็น สุดท้ายกำแพงเบอร์ลินก็ถูกทำลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

กำแพงเบอร์ลิน เยอรมนี สงครามเย็น
ส่วนหนึ่งของกำแพงเบอร์ลินที่ยังเหลืออยู่ที่ Potsdamer Platz, มีนาคม 2552

โดยผู้นำเยอรมัน 2 คน ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ นายเฮลมุต โคห์ล อดีตนายกรัฐมนตรี เยอรมนี ที่ได้ชื่อว่า “บิดาแห่งการรวมชาติ” เขามีส่วนผลักดันให้การรวมชาติเป็นจริง และนางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีคนปัจจุบัน ผู้ที่เติบโตในเยอรมนีตะวันออกที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์

นายเฮลมุต โคห์ล นางอังเกลา แมร์เคิล
นายเฮลมุต โคห์ล กับนางอังเกลา แมร์เคิล ในงานฉลองการรวชาติครบ 20 ปี วันที่ 1 ตุลาคม 2553 (ภาพจากREUTERS/Fabrizio Bensch/File Photo)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 สิงหาคม 2561