
เผยแพร่ |
---|
นิโกลาส์ แชร์แวส์ บันทึกถึงสภาพหน้าน้ำ และ น้ำท่วม ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ว่า
“น้ำท่วมใหญ่ ซึ่งดูเป็นที่น่ารำคาญและทำความเสียหายให้มากนี้กลับนำประโยชน์และความชื่นชอบมาสู่คนสยามเป็นอันมาก เพราะเหมือนกับแม่น้ำไนล์ คือทำให้พื้นดินอุดมและนำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศ ที่กลัวกันมากก็คือความแห้งแล้งเท่านั้น เพราะทำให้ข้าวมีราคาแพงมาก ซึ่งในน้ำหนักหรือสิ่งตวงเท่าๆ กันนั้น ในปีที่มีฝนตกมากจะซื้อขายกันเพียง 6 ฟรังก์
แต่ถ้าเป็นในปีที่ฝนแล้งแล้วจะซื้อขายกันถึง 29-30 ฟรังก์ทีเดียว ต้นข้าวนั้นชอบอยู่ในน้ำ น้ำยิ่งสูงเท่าไรลำต้นยิ่งแข็งแรง ไม่ว่าน้ำจะสูงรวดเร็วสักเท่าไร รวงข้าวจะชูเหนือผิวน้ำราวครึ่งปิเอด์เสมอ นอกจากน้ำจะผลุนผลันท่วมขึ้นสูงรวดเร็วผิดปรกติ ต้นข้าวก็ไม่อาจจะโตทันได้ภายในเวลาอันน้อยเช่นนั้น กล่าวคือไม่ทันชูยอดขึ้นเหนือน้ำ มันก็จะเน่าและตาย
สิ่งที่ให้ประโยชน์อีกประการหนึ่งในกรณีที่น้ำท่วม ก็คือมีปลาเป็นอันมาก และมากเสียจนกระทั่งว่า แม้จะไม่ต้องลงจากเรือน คนหนึ่งๆ จะตกปลาได้ภายในหนึ่งชั่วโมงพอใช้บริโภคไปได้หลายวันทีเดียว อนึ่งตลอดเวลาที่น้ำท่วมจะมีการเล่นสนุกสนานบนน้ำและการแข่งยานทางน้ำ ซึ่งคนสยามเรียกว่า เรือ (rüa) และคนปอรตุเกศเรียกว่า บาล็อง (balon) ดูสนุกมาก ใครไปถึงหลักชัยซึ่งมีของรางวัลรออยู่ก่อน ก็จะได้รับการต้อนรับด้วยเสียงเครื่องมโหรีประโคมให้เกียรติในความแข็งขันและสามารถ”
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560