กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร รับสั่งถึงความ “ศิวิไลซ์” ?!?

พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร

ปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากอาณานิคมตะวันตก ชนชั้นนําไทยได้พยายามสร้างความทันสมัยผ่านการรับระบบคุณค่า ความรู้ และวัฒนธรรมยุโรป ซึ่งเป็นมาตรวัดความศิวิไลซ์ในยุคนั้นชนชั้นนําไทยเชื่อว่าการแสดงออกซึ่งความ “ศิวิไลซ์” จะทําให้ไทยมีสถานภาพทัดเทียมกับยุโรป จึงเลือกรับและหยิบยืมวัฒนธรรมและความรู้ตะวันตกมาประยุกต์ตามความต้องการของตน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ศูนย์กลางภูมิปัญญาตะวันตกที่เปลี่ยนจากยุโรปไปยังสหรัฐอเมริกา และกลายมาเป็นศูนย์กลางความ “ศิวิไลซ์” แห่งใหม่สําหรับชนชั้นนําไทย

เกี่ยวกับความ “ศิวิไลซ์” นี้ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร (พ.ศ. 2428-2517) ตรัสในบทนําของ “สังคมศาสตร์กับประเทศไทย” (อ้างอิงตาม “เขียนจีนให้เป็นไทย”) ว่า

“ความรู้แบบตะวันตกได้ไหลหลั่งมาปะทะจิตใจ ของชาวตะวันออกโดยพรวดพราด ชาวตะวันออกถูกปะทะด้วยวิชาความรู้อันจะแย้งมิได้ด้วยอาการรวดเร็ว อย่างว่าจึงพากันงงงัน ได้แต่เรียนและเลียนแบบอย่างของความรู้ฝ่ายตะวันตก…

ชาวตะวันออกผู้เป็นศิษย์มีเวลาแต่จะคอยติดตามวิชานั้นๆ ให้ทันกาลให้จงได้เลยลืมวัฒนธรรมทางใจอันเป็นสมบัติวิเศษดั้งเดิมของตนเสีย

เมื่อหมดทางใจเสียแล้วเช่นนี้การที่จะริเริ่มวิชาความรู้ย่อมเป็นการยาก ได้เอาอย่างเรื่อยๆ ไป สิ่งใดที่เห็นว่าผิดแบบครูก็ละเลยเสียว่า ไม่สิวิลัย อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าเชื่อและมั่นใจขึ้นทุกทีว่าบัดนี้ไทยเราเรียนมา จนถึงขั้นที่หยุดการหลับตาเอาอย่างแล้ว” (สั่งเน้นโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม)


ข้อมูลจาก

สิทธิเทพ เอกสิทธิพงษ์. เขียนจีนให้เป็นไทย, สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2564


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2564