“ข้าพเจ้ารับผิดแต่เพียงผู้เดียว” คำพูดอมตะของ “จอมพลสฤษดิ์”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ วาทะอมตะ ข้าพเจ้ารับผิดแต่เพียงผู้เดียว
จอมพลสฤษดิ์ ตรวจการดับเพลิงที่ตรอกสลักหิน หัวลำโพง เมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2503

เมื่อรัฐประหารยึดอำนาจจาก พลเอก ถนอม กิตติขจร (ยศในขณะนั้น) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยรูปแบบการบริหารที่เบ็ดเสร็จ เด็ดขาด ช่วงเวลานั้นมักมีสารหรือข้อความที่ติดหูหลายครั้ง ส่วนหนึ่งที่หลายคนน่าจะพอคุ้นเคยกันคือวาทะ “ข้าพเจ้ารับผิดแต่เพียงผู้เดียว”

โดยเฉพาะเมื่อเกิด “เพลิงไหม้” ที่จอมพลสฤษดิ์มักจะไปถึงที่เกิดเหตุ ดำเนินการสั่งการอย่างเด็ดขาด และการลงโทษอย่างรุนแรง เช่น การสั่งประหารชีวิตผู้ลอบวางเพลิง โดยใช้ ม. 17 (มาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร) พร้อมกับคำพูดทำนอง “ข้าพเจ้ารับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว” เช่น ในสารของ จอมพลสฤษดิ์ ถึงประชาชนชาวไทย เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ว่า

“ข้าพเจ้าจึงตกลงใจว่าจําเป็นต้องปฏิบัติการโดยเร่งด่วนและเฉียบขาด เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีเพลิงไหม้ โดยไม่คํานึงถึงสิ่งใดอื่นแม้แต่ตัวข้าพเจ้าเอง ฉะนั้น ข้าพเจ้าจําเป็นจะต้องปฏิบัติการอย่างเด็ดขาด การใดจะผิดถูกหรือไม่ ข้าพเจ้ารับผิดแต่เพียงผู้เดียว โดยจะต้องปฏิบัติการไปตามแนวนโยบายซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าถูกที่สุด เพื่อความผาสุก ของพี่น้องทั้งหลายร่วมกัน ขอได้โปรดกรุณารับทราบตามนี้ไว้ด้วย”

จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


ข้อมูลจาก :

ประวัติย่อ ฯพณฯ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์, หจก.อรุณการพิมพ์ (ไม่ได้ระบุปี)


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 9 สิงหาคม 2562