ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
รัชกาลที่ 5 มีพระราชวินิจฉัยถึงการ “หมอบคลาน” ว่าไม่มีประโยชน์แก่บ้านเมือง เป็นต้นเหตุแห่งการกดขี่กันทั้งปวง
ประกาศเปลี่ยนธรรมเนียมใหม่ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 1 วันจันทร เดือน 8 แรม ค่ำ 1 ปีจอ ศก 1236 เนื้อหาเกี่ยวกับการยกเลิกหมอบคลาน ตอนหนึ่งมีว่า
“…แลธรรมเนียมที่หมอบคลานกราบไหว้ในประเทศสยามนี้ เหนว่าเปนการกดขี่แก่กันแข็งแรงนัก ผู้น้อยที่ต้องหมอบคลานนั้น ได้ความเหน็ดเหนื่อยลำบาก เพราะจะให้ยศแก่ท่านผู้ใหญ่ ก็การทำยศ ที่ให้คนหมอบคลานกราบไหว้นี้ ไม่ทรงเหนว่ามีประโยชน์แก่บ้านเมือง แต่สิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย
ผู้น้อยที่ต้องมาหมอบคลานกราบไหว้ให้ยศต่อท่านผู้ที่เปนใหญ่นั้น ก็ต้องทนลำบากอยู่ จนสิ้นวาระของตนแล้วจึ่งจะได้ออกมา พ้นท่านผู้ที่เปนใหญ่ธรรมเนียมอันนี้แลเหนว่าเปนต้น แห่งการที่เปนการกดขี่แก่กันทั้งปวง เพราะฉนั้นจึ่งจะต้องละพระราชประเพณีเดิม ที่ถือว่าหมอบคลานเปนการเคารพอย่างยิ่งในประเทศสยามนี้เสีย ด้วยทรงพระมหากรุณา ที่จะให้ท่านทั้งหลายได้ความศุฃ ไม่ต้องทนยากลำบากหมอบคลาน เหมือนอย่างแต่ก่อน…”
อ่านเพิ่มเติม :
- พระราชดำรัส ร.5 ทรงยกเลิก “หมอบคลาน” ปรับธรรมเนียมครั้งใหญ่ช่วงต้นรัชสมัย
- 22 กรกฎาคม 2417 รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศพระราชดำริให้ “เลิกทาส” อย่างค่อยเป็นค่อยไป
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 สิงหาคม 2559