ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ฐานโยนี คือที่ประดิษฐาน “ศิวลึงค์” สัญลักษณ์แทนพระศิวะในรูปของอวัยวะเพศชาย ซึ่งนอกจากจะเป็นตัวแทนพระศิวะแล้วยังมีความหมายเกี่ยวกับความสมบูรณ์ด้วย
ภาพที่แสดงอยู่นี้คือ ฐานศิวลึงค์ประดับด้วยถันสตรี ศิลปะจาม กลุ่มชนที่เคยมีอาณาจักรของตนเองตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดกว๋างจี (Quang Tri) และบิ่งทวน (Binh Thuan) ประเทศเวียดนามในปัจจุบัน โดยประติมากรรมชิ้นนี้สร้างขึ้นใน สมัยบิ่งดิง (พุทธศตวรรษที่ 16-18) จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ประติมากรรมจาม เมืองดานัง
โดยศิวะลึงค์ในศิลปะจามจะประกอบด้วยสามส่วน คือ พรหมภาคอยู่ในผังสี่เหลี่ยมด้านล่างสุดเป็นตัวแทนของพระพรหม ส่วนกลางอยู่ในผังแปดเหลี่ยมเรียกว่า วิษณุภาค แทนพระวิษณุ และส่วนยอดทรงกลมเรียกว่า รุทรภาค โดยส่วนล่างและส่วนกลางจะฝังอยู่ในฐานโยนี ลักษณะเหล่านี้สืบทอดมาจากการสร้างศิวลึงค์ในวัฒนธรรมอินเดีย
อ่านเพิ่มเติม :
- “ศิวลึงค์” เป็นวัตถุเคารพที่ยิ่งใหญ่สุดของมนุษย์ได้อย่างไร เผยรากตำนานตั้งแต่โบราณ
- ถกความเชื่อเรื่อง “เต้านม” ในคติตะวันตก-ออก เครื่องสะท้อนสังคม “แม่เป็นใหญ่”
อ้างอิง :
ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ “ศิลปะเวียดและจาม” โดย ดร. อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช (พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม 2557)
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 ตุลาคม 2559