“รถไฟจำลอง” ความรู้ใหม่ของสยาม เครื่องราชบรรณาการจากควีนวิกตอเรียแห่งอังกฤษ

รถไฟจำลอง รัชกาลที่ 4 เครื่องราชบรรณาการ สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย
รถไฟจำลอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ภาพจาก กรมศิลปากร)

รถไฟจำลอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นรถไฟขนาดเล็ก ซึ่งย่อส่วนมาจากรถไฟจริง ประกอบด้วยส่วนหัวรถจักรไอน้ำประเภทมีปล่องควันและมีรถพ่วงตาม ได้รับเป็น “เครื่องราชบรรณาการ” จาก สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แห่งอังกฤษ

รถไฟจำลอง รวมถึงเครื่องราชบรรณาการอื่นที่ได้มาในครั้งนั้น เช่น ลูกโลกจำลอง นับเป็นความรู้ใหม่ที่สยามเพิ่งได้รู้จัก สอดรับกับเอกสารหลักฐานร่วมสมัย อย่าง “นิราศลอนดอน” ซึ่งอาจเป็นเอกสารชิ้นแรกที่พูดถึงและบัญญัติ คำว่า “รถไฟ” อย่างทางการเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

รถไฟจำลอง รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

ความรู้เรื่องการรถไฟได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่การกำเนิดทางรถไฟหลวงสายแรก กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จนกระทั่งแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดการเดินรถสายนี้ เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2443

ลูกโลกจำลอง

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากเพจ : กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 9 สิงหาคม 2562