ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
สุนัขปักกิ่ง ครั้งหนึ่งเป็น สัตว์เลี้ยง ของราชสำนักจีนที่คนทั่วไปไม่มีสิทธิ
สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยง ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุดชนิดหนึ่ง เลี้ยงไว้เพื่อช่วยทำงานต่างๆ เช่น เลี้ยงเพื่อเฝ้าระวังทรัพย์สินต่างๆ, ล่าสัตว์, ลากเลื่อน ฯลฯ หรือบางคนที่เลี้ยงสุนัขไว้คลายเหงา สุนัขเหล่านั้นจึงมีสถานะเสมือนลูก เสมือนเพื่อน และได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
ดังนั้น แต่ละคน แต่ละครอบครัว จึงเลือกขนาดสุนัข สายพันธุ์สุนัข ที่จะเลี้ยงแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น ในราชสำนักจีนยุคหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยง “สุนัขสิงโต” หรือ ที่รู้จักกันทั่วไปว่าสุนัขปักกิ่ง ซึ่งจ้าวกว่างเชา เขียนอธิบาย (อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช และชาญ ธนประกอบ-แปล) ไว้ในหนังสือ “ร้อยเรื่องราว วังต้องห้าม” (สนพ.มติชน, พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม 2560) ไว้ว่า
“สุนัขปักกิ่งหน้าตาคล้ายสิงโต จึงได้ชื่อว่าสุนัขสิงโต สิงโตถือเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ขับไล่สิ่งอัปมงคลและวิญญาณชั่วร้าย เนื่องจากขาทั้งสี่สั้นและเล็ก ใส่ไว้ในแขนเสื้อได้ จึงมีอีกชื่อว่า ‘สุนัขแขนเสื้อ’
เจ้าหมาน้อยเป็นที่โปรดปรานของบรรดาเชื้อพระวงศ์ อีกทั้งห้ามคนทั่วไปเลี้ยง ภาพลักษณ์จึงยิ่งสูงส่ง เมื่อจักรพรรดิสวรรคตก็ฝังสุนัขไปพร้อมกันด้วยเพื่อแสดงความเคารพ
สุนัขปักกิ่ง อยู่ในประวัติศาสตร์จีนมากว่า 1,000 ปี เหมือนเป็นของโบราณที่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ และอยู่ในพระราชวังมาโดยตลอด ช่วงปลายสมัยของซูสีไทเฮา สุนัขปักกิ่งเริ่มแพร่ไปยังดินแดนตะวันตก ตั้งแต่นั้นมาคนทั่วโลกจึงได้เล่นและชื่นชมสุนัขประเภทนี้” (จัดย่อหน้าใหม่และสั่งเน้นคำโดยกองบรรณาธิการ)
อ่านเพิ่มเติม :
- เปิดเคล็ดลับสุขภาพ สูตร “ซูสีไทเฮา” และ กำเนิดเมนูโปรดของพระนาง
- “สุนัข” ว่าด้วยประวัติศาสตร์ และ การเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม สัตว์เลี้ยง
- “สุนัขนำโชค” ตามตำราพรหมชาติ เป็นอย่างไร?
- ย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยงในรัชกาลที่ 6 ที่มหาดเล็ก และคุณข้าหลวงหมั่นไส้-ชอบแกล้ง
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 ตุลาคม 2564