เกือบ 300 ปีที่ราชวงศ์ชิงปกครองจีน มีมรดกวัฒนธรรมอะไรเหลือไว้บ้าง

ราชวงศ์ชิง ผมเปีย
ผู้ชายทุกคนสมัยราชวงศ์ชิง ต้องโกนผมด้านหน้าศีรษะออกหมด เหลือผมด้านหลังไว้เพื่อถักเป็นเปีย

ราชวงศ์ชิง เป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศจีนระหว่าง ค.ศ. 1636-1912 (พ.ศ. 2179-2455) ทั้งนี้ราชวงศ์ชิงก่อตั้งโดยชาวแมนจู กษัตริย์และขุนนางระดับสูงส่วนใหญ่เป็นชาวแมนจู ซึ่งไม่ใช่ประชากรหลักของจีนที่เป็นชาวฮั่น

นับตั้งแต่ราชวงศ์ชิงขึ้นปกครองประเทศ ก็มีแรงต่อต้านจากประชาชน หรือชาวฮั่นเสมอมา ดังที่ได้ยินได้เห็นในบทความหรือภาพยนตร์เสมอว่า “ล้มล้างแมนนจู ฟื้นฟูราชวงศ์หมิง”

Advertisement

ขณะเดียวกันผู้ปกครองอย่างแมนจูก็กดขี่ชาวฮั่น ด้วยการบังคับให้โกนผมด้านหน้าศีรษะออกหมด เหลือผมด้านหลังไว้เพื่อถักเป็นเปีย บังคับให้แต่งตัวแบบแมนจูด้วยการนุ่งกางเกง สวมเสื้อยาวติดกระดุมด้านขวา ซึ่งเสื้อแบบดังกล่าวของของผู้หญิงเรียกว่า “กี่เพ้า” หรือ “ฉีเผา”

แล้วเวลานับร้อยๆ ปีที่ราชวงศ์ชิงปกครองแผ่นดินจีนได้สร้างแบบแผนการปกครองอะไรไว้บ้าง คงต้องยืมข้อความของ อาจารย์เลียง เสถียรสุต นักวิชาการจีนวิทยารุ่นอาวุโสผู้ล่วงลับ ที่ว่า

“ผลการปกครองจีนของแมนจู แมนจูซึ่งปกครองจีนได้นานถึง 300 ปี ด้วยชั้นเชิงเล่ห์เหลี่ยมที่ดีมาก แล้วยังพยายามปรับปรุงตนเองให้เข้ากับจีนได้ด้วย แต่ก็โดยการปรับปรุงตนให้เข้ากับจีนได้จริงๆ เกินไป

ผลที่สุดตนเองก็เลยกลายเป็นจีนไปจริงๆ พูดภาษาจีน ใช้หนังสือจีนและขนบธรรมเนียมจีน

เมื่อแมนจูยกราชบัลลังก์ให้แก่สาธารณจีนนั่น แมนจูคงเหลือแต่เสื้อกางเกงชุดเดียว [กี่เพ้า] เท่านั้นที่เป็นของแมนจู นอกนั้นก็คือคนจีนดีๆ นั่นเอง”

ที่เวลานั้นชาวฮั่นจำต้องสวม แต่วันนี้สุภาพสตรีจีนใส่ ชุด “กี่เพ้า” ประหนึ่งเครื่องแต่งกายประจำชาติไปเสียแล้ว

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

ล. เสถียรสุต. ประวัติศาสตร์จีน, สำนักพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2516

วิทยาลัยภาษาจีนปักกิ่ง, มหาวิทยาลัยครูหนานจิง, มหาวิทยาลัยครูอันฮุย. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเทศจีน , สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, ตุลาคม 2550


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 4 มีนาคม 2564