“สยาม” เป็นชื่อที่พวกกัมพูชาใช้หมายถึง “คนป่า”…

ขบวนแห่ของชาวสยามหรือ “เสียมก๊ก” สุจิตต์ วงษ์เทศ เคยกล่าวว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่อยู่รัฐและบ้านเมืองบริเวณสองฝั่งโขงที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมของกษัตริย์กัมพูชาในยุคนั้น ไม่ใช่ “กองทัพเมืองขึ้นของขอม” ตามคำอธิบายของนักวิชาการเจ้าอาณานิคมตะวันตก

“จีนเรียกอาณาจักรสุโขทัยว่า ‘เสียน’ ส่วนคำว่า ‘สยาม’ เป็นชื่อที่พวกกัมพูชาใช้หมายถึง ‘คนป่า’ จากแถบกลางของแม่น้ำ (เจ้าพระยา) ซึ่งมีรูปแกะสลักอยู่ที่ระเบียงด้านใต้ของนครวัด หลักฐานการใช้คำนี้ที่เก่าแก่ที่สุดขณะนี้ก็พบในจารึกของชาวจามในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ซึ่งเอ่ยถึงชาวสยามในรายชื่อเชลยศึก ชื่อนี้ดูเหมือนจะแผลงมาจากคำ ‘ชาน’ ซึ่งชาวพม่าใช้เรียกบรรดารัฐชาวเขาทางเหนือซึ่งเรียงรายกันจากเหนือลงมาใต้จากรัฐโมกองและโมนยิน ไม่มีผู้ใดทราบว่าคำว่า ‘สยาม’ มีความหมายทางนิรุกติศาสตร์ว่าอย่างไร

หลังจากการตั้งอาณาจักรอยุธยาขึ้นใน ค.ศ. 1350 ดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์แห่งอาณาจักรนี้ก็ได้ชื่อว่า สยาม ชาวยุโรปก็มักเรียกตัวเมืองอยุธยาว่า ‘นครแห่งสยาม’” (ที่มา : ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เล่ม 1 โดย ดี.จี.อี. ฮอลล์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านประวัติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประจำมหาวิทยาลัยคอร์เนล และมหาวิทยาลัยลอนดอน)

ขบวนแห่ของชาวสยามหรือ “เสียมก๊ก” สุจิตต์ วงษ์เทศ เคยกล่าวว่า คนกลุ่มนี้เป็นพวกที่อยู่รัฐและบ้านเมืองบริเวณสองฝั่งโขงที่เป็นเครือญาติใกล้ชิดสนิทสนมของกษัตริย์กัมพูชาในยุคนั้น ไม่ใช่ “กองทัพเมืองขึ้นของขอม” ตามคำอธิบายของนักวิชาการเจ้าอาณานิคมตะวันตก

ขณะที่ จิตร ภูมิศักดิ์ ได้ตั้งสมมติฐานถึงของความหมายดั้งเดิมของคำอันเป็นที่มาของคำ “สยาม” ว่า น่าจะหมายถึง ดินแดนลุ่มแม่น้ำ หรือเกี่ยวกับน้ำ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพชีวิตของสังคมกสิกรรมในที่ราบลุ่มของชนชาติไต

พร้อมกันนี้ จิตร กล่าวย้ำว่า การหาความหมายที่มาของคำสยาม ไม่ควรไปเสาะหาคำที่คล้ายคลึงในภาษาอื่นๆ โดยละเลยการพิจารณาพัฒนาการของชีวิตทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนไต และไม่จำเป็นต้องเลือกหา “แต่คำที่มีความหมายที่ดีวิเศษด้านเดียวเสมอไป” เพราะ “เราจะไม่ได้ความจริงที่ปรากฏขึ้นภายในวิถีทางพัฒนาแห่งประวัติศาสตร์สังคมเลย” (ที่มา : ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ โดย จิตร ภูมิศักดิ์)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 30 มิถุนายน 2559