เปิดนโยบาย “พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค” เมื่อ พ.ศ. 2499 ห้ามทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง!!!

ปกหนังสือ ไฮด์ปาร์ค
ภาพปกหนังสือไฮด์ปาร์คกับการล้มรัฐบาล ของ บุญยัง สันธนะวิทย์ ตีพิมพ์ พ.ศ. 2502

ในการเลือกตั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ .. 2500 เป็นการต่อสู้ของพรรคเสรีมนังคศิลาที่นำโดยจอมพล . พิบูลสงคราม กับพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดยควง อภัยวงศ์ แต่ยังมีพรรคขบวนการไฮด์ปาร์คอีกพรรคหนึ่งที่มีบทบาทการเมืองสำคัญของไทยในสมัยนั้น

พรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ได้รับการจดทะเบียนจากกระทรวงมหาไทย ตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง .. 2498 จดทะเบียนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม .. 2499 เลขทะเบียนที่ 4/2499 มีนายเพทาย โชตินุชิตเป็นหัวหน้าพรรค นายชวน รัตนวราหะเป็นเลขาธิการพรรค

ก่อนหน้าที่จะมีการออกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง .. 2498 นั้น การเมืองไทยอยู่ในช่วงแข่งขันชิงอำนาจกันอย่างดุเดือด ถึงกับมีการกล่าวว่าเป็นการเมืองสามเส้ามีจอมพล . ฝ่ายหนึ่ง กลุ่มสี่เสาว์เทเวศร์ นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ฝ่ายหนึ่ง และกลุ่มซอยราชครู นำโดยพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ฝ่ายหนึ่ง

ในปี .. 2498 จอมพล . ได้เดินทางรอบโลกภายใต้การสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยจอมพล . จึงเริ่มรณรงค์ประชาธิปไตยโดยให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ที่สนามบินดอนเมืองว่าการทัศนาจรรอบโลกครั้งนี้ได้ผลคุ้มค่า เพราะได้ความเป็นประชาธิปไตยมาเป็นของฝากแก่พี่น้องชาวไทย

สิ่งนั้นคือไฮดปาร์ค

ไฮด์ปาร์คคือการชุมนุมอย่างหนึ่งเป็นการพูดที่สาธารณะในเรื่องต่าง (คลิกอ่านต้นกำเนิดของไฮด์ปาร์คได้ที่นี่) ซึ่งเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนไทยในยุคนั้น ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองอย่างจริงจัง ขณะที่หนังสือพิมพ์หลายฉบับเริ่มตีพิมพ์ในวันที่ 27 สิงหาคม .. 2498 ว่าไฮด์ปาร์ค” จะเกิดขึ้นที่สนามหลวงเป็นครั้งแรกของประเทศ

จอมพล ป. พิบูลสงคราม แจก ขนม ให้ เด็ก ใน วันเด็กแห่งชาติ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม แจกขนมเด็กๆ เนื่องในวันเด็กแห่งชาติ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2499

ผู้ที่ริเริ่มจัดไฮด์ปาร์คคือ นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ อดีต .. ธนบุรี ได้เชิญนักพูดและนักการเมืองหลายคนมาร่วมไฮด์ปาร์ค เช่น นายเพทาย โชตินุชิต .. ศรีสะเกษ ไฮด์ปาร์ดที่สนามหลวงได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมากขึ้นจนพัฒนากลายเป็นสภาประชาชน หรือสภาท้องสนามหลวง จนคำว่าไฮด์ปาร์คนั้นติดหูคนไทยไปเสียแล้ว ทั้ง ที่ก่อนหน้าไม่นานกลับไม่รู้จักคำนี้ว่าคืออะไร

รัฐบาลจอมพล ปเริ่มวิตกกังวลกับขบวนการไฮด์ปาร์ค แต่ทั้งนี้ก็เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลเองที่เมื่อแรกมีการแสดงความคิดเห็นของประชาชน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสนใจแม้แต่น้อย ประชาชนจึงคิดว่ารัฐบาลเป็นเผด็จการ ไม่ยอมฟังเสียงประชาชน จึงมีการเดินขบวนชุมนุมของขบวนการไฮด์ปาร์คในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 โจมตีรัฐบาลจอมพล ป. ในเรื่องต่าง โดยเฉพาะเรื่อง ส.ประเภทที่ 2 ถึงขนาดที่นายเพทาย โชตินุชิต ได้กรีดเลือดประท้วงเรียกร้องให้มีการยกเลิก .. ประเภทนี้ 

การไฮด์ปาร์คจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องข้ามปีไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ก็เริ่มมีการหาวิธีต่อสู้ที่หนักหน่วงมากขึ้น นั่นคือการอดข้าวประท้วง นำโดย นายทองอยู่ พุฒพัฒน์ รัฐบาลจึงดำเนินการจับกุมผู้ประท้วง ก่อนจะปล่อยตัวผู้ประท้วงทั้งหมดในวันที่ 10 มีนาคม .. 2499

หลังจากเหตุการณ์กบฏอดข้าวนี้ รัฐบาลโดยสำนักนายกรัฐมนตรีจึงออกแถลงการณ์ห้ามการไฮด์ปาร์คด้วยเหตุผลว่าพูดเกินขอบเขตเป็นอันมาก อีกทั้งกรมตำรวจก็ใช้เครื่องมือกล่าวอ้างว่ามีความพยายามแทรกแซงจากพวกคอมมิวนิสต์ ดังนั้นไฮด์ปาร์คจึงสลายตัวไปโดยปริยาย แต่ในท้ายที่สุดก็นำไปสู่การจดทะเบียนตั้งพรรคขบวนการไฮด์ปาร์คเพื่อสู้ศึกการเลือกตั้ง 26 กุมภาพันธ์ พ.. 2500

ทองอยู่ พุฒพัฒน์ ถูก ตำรวจ จับกุม
ทองอยู่ พุฒพัฒน์ เจ้าของฉายา “โต้โผไฮด์ปาร์ค” ถูกจับกุมกรณีกบฏอดข้าว

ในประกาศกระทวงมหาดไทย เรื่องการจดทะเบียนพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค ได้ระบุถึงอุดมการณ์ของพรรค 4 ข้อคือ 1. เพื่อเอกราชและประชาธิปไตยสมบูรณ์ 2. ต้องเป็นรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน 3. ประชาชนเป็นใหญ่ 4. รวมกันอยู่ แยกกันเราตาย และมีนโยบายของพรรค ดังนี้

นโยบายต่างประเทศ

1. พรรคนี้มุ่งดำเนินวิเทโศบายในการผูกมิตรกับทุกประเทศ โดยรักษาศักดิ์ศรีของชาติไทยให้ปรากฏ

2. ส่งเสริมสันติภาพ หาทางป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโดยทุกวิถีทาง

นโยบายภายในประเทศ

1. เทิดทูนสิทธิเสรีภาพต่าง ของประชาชน เช่น เสรีภาพ การพูด การเขียน การชุมนุมสาธารณะ การแสดงความคิดเห็น โดยเฉพาะยอมรับนับถือว่าหนังสือพิมพ์เป็นฐานันดรที่ 4

2. กำจัด กวาดล้าง และต่อต้านอภิสิทธิทั้งหลาย และระบบศักดินาให้สูญสิ้นไป

3. กำจัด กวาดล้าง การทุจริตในวงงานราชการ และทำลายล้างลัทธิการกินสินบนให้สูญสิ้นไป

4. ต่อต้านริดรอนการใช้อำนาจไม่เป็นธรรมแก่ประชาชนในทุกกรณี

การป้องกันประเทศ

1. ยึดถือหลักว่าทหารเป็นทหารของชาติและของประชาชนห้ามมิให้ทหารประจำการเกี่ยวข้องกับการเมือง

2. มีกำลังทหารและยุทโธปกรณ์เพียงแต่ให้พอป้องกันประเทศ

3. ทหารที่มีอยู่ต้องได้รับการช่วยเหลือและได้รับการบำรุงด้วยดี

4. ให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าทหารผ่านศึกอย่างจริงจังด้วยความเป็นธรรม

การศึกษาและศาสนา

1. ทุ่มเทงบประมาณเพื่อปรับปรุงการศึกษาของชาติไม่น้อยกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อให้เยาวชนของชาติได้รับการศึกษา โดยไม่มีการจำกัด

2. ทำนุบำรุงศาสนาทุกศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนา ศานาอิสลาม คริสต์ศาสนา ทั้ง 3 ศาสนานี้เป็นพิเศษ

เศรษฐกิจ

1. รักษาไว้ซึ่งเอกราชทางเศรษฐกิจ

2. ส่งเสริมการประกอบการโดยรัฐในกิจการที่อำนวยประโยชน์สุขแก่ประชาชน

3. ค้นคว้าและทำประโยชน์ให้เกิดจากทรัพยากรธรรมชาติ

4. ส่งเสริมการสหกรณ์เพื่อช่วยการครองชีพของประชาชน

5. ส่งเสริมอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของชาติ

6. ช่วยให้การกู้ยืมเงินของประชาชนพ้นจากการถูกขูดรีดดอกเบี้ย หรือผลประโยชน์อื่น เกินสมควร

การคลัง

1. พยายามทำให้การเงินของชาติมั่นคง โดยมิต้องก่อหนี้สินที่จะเป็นภาระแก่ประชาชนโดยไม่จำเป็น

2. ประหยัดการใช้จ่ายเงินของชาติอย่างจริงจัง

3. ปรับปรุงภาษีให้เป็นธรรมแก่สังคม ลดหย่อนภาษีอากรบางประเภท และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีให้รัดกุมเข้มแข็งยิ่งขึ้น

4. จัดทำงบประมาณของชาติให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนร่วม และส่งผลถึงประชาชนจริง

การเกษตร

1. ดำเนินการช่วยเหลือโดยทุกวิถีทางแก่ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่ และผู้เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้เกิดผลพอกพูนในกิจการงานของบุคคลเหล่านี้

2. ช่วยปลดเปลื้องภาระผูกพันที่ชาวนา ชาวสวน ชาวไร่มีอยู่กับคนกลาง นายทุน หรือเจ้าของที่ดิน

การศาล

อำนาจตุลาการต้องเป็นอิสระโดยเด็ดขาด เพื่อให้การพิจารณาคดีในโรงศาลเป็นไปด้วยความยุติธรรม ตามตัวบทกฎหมายโดยเคร่งครัด

การสาธารณสุข

1. จัดสถานพยาบาล แพทย์ และยารักษาโรค ให้เพียงพอแก่การบริการประชาชน

2. จัดให้มีขึ้นและทำนุบำรุงการสุขาภิบาล และการอนามัยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

การสังคม

1. ชนชั้นกรรมกร กสิกร คนยากจน คนชั้นกลาง และเยาวชนของชาติ เป็นบุคคลที่จะต้องได้รับความเอาใจใส่ และช่วยเหลือเป็นพิเศษ

2. คนชรา หญิง และเด็ก ย่อมได้รับการคุ้มครอง บำรุง และเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ

3. จัดให้ประชาชนได้รับการอยู่ดีกินดี

ประชาชน รวมตัว ไฮด์ปาร์ค ที่ อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย
บรรยากาศไฮด์ปาร์ควิจารณ์การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลจอมพล ป.

ในการเลือกตั้ง วันที่ 26 กุมภาพันธ์ .. 2500 ปรากฏว่าพรรคขบวนการไฮด์ปาร์คได้รับเลือกตั้ง .. เพียง 2 คน จากจำนวน .. 160 คน หลังจากนั้นเกิดรัฐประหาร เดือนกันยายน .. 2500 โดยจอมพลสฤษดิ์ จึงได้จัดการเลือกตั้งอีกครั้งในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ปรากฏว่าพรรคขบวนการไฮด์ปาร์คได้รับเลือกตั้ง .. เพียงแค่คนเดียว ก่อนที่ คณะปฏิวัติจะออกประกาศ ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 20 ตุลาคม .. 2501 ยกเลิกพระราชบัญญัติพรรคการเมือง .. 2498 ทำให้พรรคขบวนการไฮด์ปาร์คสิ้นสุดสถานะพรรคการเมืองลงในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

บุญยัง สันธนะวิทย์. (2502). ไฮด์ปาร์คกับการล้มรัฐบาล. ราชบุรี: ราชบุรีการพิมพ์

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2553). แผนชิงชาติไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พี.เพรส

ธิกานต์ ศรีนารา. (2562). ไฮด์ปาร์ค, จาก สถาบันพระปกเกล้า

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2562). 26 กุมภาพันธ์ .. 2500, จาก สถาบันพระปกเกล้า

ประกาศกระทวงมหาดไทย เรื่องการจดทะเบียนพรรคขบวนการไฮด์ปาร์ค เล่มที่ 73 ตอนที่ 30 ลงวันที่ 3 เมษายน 2499 ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร .. 2500 ครั้งที่ 2 เล่มที่ 74 ตอนที่ 112 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2500 จาก ราชกิจจานุเบกษา

ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 8 เล่มที่ 75 ตอนที่ 83 ลงวันที่ 21 ตุลาคม .. 2501 ราชกิจจานุเบกษา


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2562