“งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า” เป็นอย่างไร จัดถึง 6 วัน?

พระพุทธเจ้า ประทับสีหไสยา เสด็จ ดับขันธ์ ปรินิพพาน ประกอบ งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้า ประทับสีหไสยา เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

มีข้อมูลกล่าวถึง “พระพุทธเจ้า” ว่า… พระองค์ประชวรด้วยโรคเกี่ยวกับลำไส้ และปรินิพพาน ณ เมืองกุสินารา แม้พระพุทธเจ้าจะเป็นศาสดาแห่งพุทธศาสนา ทว่า “งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า” กลับเรียบง่ายและแฝงคำสอนมากมายไว้

งานพระบรมศพของพระพุทธเจ้า…

พระพุทธเจ้า ประทับสีหไสยา เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

ในวันปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากเมืองเวสาลี ผ่านหมู่บ้านเล็ก ๆ มากมาย เพื่อไปปรินิพพานที่เมืองปลายทางอย่าง “กุสินารา”

ก่อนจะหมดลมหายใจ พระอานนท์ได้ทูลถามพระศาสดาว่า เมื่อปรินิพพานแล้วจะให้จัดการกับพระสรีระอย่างไร เมื่อพระพุทธเจ้าได้ฟังก็ตรัสว่า…

“ดูก่อนอานนท์! พวกเธอผู้เป็นพระภิกษุบริษัท อย่าขวนขวายเพื่อการบูชาต่อสรีระของเราเลย อานนท์! เราขอเตือนเธอทั้งหลาย จงพยายามทำให้มากในประโยชน์ของเรา (คือทำตนให้พ้นจากกิเลส) จงมีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผากิเลสบาปกรรมให้เบาไป มุ่งต่อที่สุดทุกข์โดยเสมอเถิด

อานนท์เอ๋ย! การบูชาสรีระของตถาคต (คำเรียกพระพุทธเจ้า, คำที่พระพุทธเจ้าใช้แทนพระองค์เอง-ผู้เขียน) นั้น มิใช่เป็นกิจเป็นหน้าที่ของภิกษุ แต่เป็นหน้าที่ของฆราวาสเขา พวกราชาพราหมณ์ผู้ศรัทธาในเรามีอยู่เขาจักทำเอง หน้าที่โดยตรงของภิกษุ คือ การรีบทำความเพียรเพื่อถึงที่สุด ทุกข์แล้วจักได้ช่วยผู้อื่นต่อไป”

ภาพวาดพระพุทธเจ้าโดย Abanindranath Tagore ศิลปินชาวอินเดียมีชีวิตในช่วง ค.ศ. 1871-1951

จากข้อความนี้…แสดงให้เห็นถึงหน้าที่ของพระสงฆ์ และความไม่ฟุ่มเฟือยของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระองค์ปรินิพพาน เหล่ามัลลกษัตริย์ ผู้ครองเมืองกุสินารา ก็เป็นเจ้าภาพจัดแจงห่อพระศพด้วยผ้าขาวและสำลี 500 ชั้น วางพระศพลงในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันหอม ทำอยู่ 6 วัน เนื่องจากพระศพเป็นสิ่งที่ควรบูชา เข้าสู่วันที่ 7 ก็นำไปถวายพระเพลิงนอกพระนคร

เป็นอันจบงานพระบรมศพของศาสดาแห่งศาสนาพุทธ

 

 

 

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:184363


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2567