“หลี” ในคำว่า “หลีสาว” มีที่มาจากไหน ?

จิตรกรรม ฝาผนัง วัดสุทัศน์ ผู้หญิง นางใน ฝรั่งไล่จับหนู หลีสาว
ภาพประกอบเนื้อหา - จิตรกรรมฝาผนัง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

คำว่า “หลี” แปลว่าอะไร? คำว่า “หลี” ใน “หลีสาว” มีที่มาจากไหน ?

ภาพหนุ่มสาวเมืองน่านมาพบปะพูดคุย เกี้ยวพาราสีกัน จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดภูมินทร์
ภาพหนุ่มสาวเมืองน่านมาพบปะพูดคุย เกี้ยวพาราสีกัน จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดภูมินทร์

“หลี” ในภาษาจีนมีหลายคำเช่น “หลี” ที่เป็นแซ่หนึ่งของจีน อันเป็นแซ่ของพระจักรพรรดิจีนสมัยราชวงศ์ถัง เช่น หลี่เอียน (ถังเกาจู่ฮ่องเต้) หรือหลี่ซื่อหมิน (ถังไท่จงฮ่องเต้) และ “หลี” ที่มีความหมายว่า “กำไร”, ราบรื่น” เช่นในชื่อบ้าน “หวั่งหลี”

นอกจากนี้ “หลี” ยังเป็นสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋วของคำว่า “ลี่ (丽)” ในภาษาจีนกลางแปลว่า “สวยงาม, งดงาม” เป็นคำคุณศัพท์ที่ใช้กับ “ผู้หญิง, ทิวทัศน์ หรือสิ่งที่น่าชมต่างๆ”

Advertisement

คนจีนจึงมักตั้งชื่อลูกสาวว่า “หลี” หรือมีคำว่า “หลี” อยู่ในชื่อด้วย และความหมายของคำว่า “หลี” ในที่นี้ก็คือ “สวยงาม, งดงาม”

คำว่า “หลี (丽)” ในความหมายนี้เอง ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับคำสแลงว่า “หลี” ที่นำมาใช้ในภาษาไทยทุกวันนี้

สันนิษฐานว่า แต่เดิมคงมีการนำคำว่า “หลี (丽)” มาใช้ในความหมายว่า “พวกชอบของสวยๆ งามๆ (โดยเฉพาะผู้หญิง)” ต่อมาจึงกลายเป็นความหมายว่า “คนเจ้าชู้” ดังเช่นในปัจจุบัน

ฉากเกี้ยวพาราสีในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดวัง จังหวัดพัทลุง เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4
ภาพประกอบเนื้อหา – ฉากเกี้ยวพาราสีในจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถวัดวัง จังหวัดพัทลุง เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่ 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2560