ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
สำนักข่าวซินหัว รายงานโดยอ้างอิงจาก องค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา ว่า งานบูรณะฐาน “หอคอยบากัน” ส่วนตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ภายในหมู่ปราสาทนครวัดอันโด่งดังของประเทศ ได้เสร็จสิ้นแล้ว
คำ โมนี สถาปนิกผู้รับผิดชอบพื้นที่บูรณะ หอคอยบากัน กล่าวว่า ฐานหอคอยฯ ส่วนตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เนื่องด้วยความเก่าแก่ การชอนไชของรากไม้ และการกัดเซาะของน้ำฝน นำสู่การเริ่มต้นงานบูรณะเมื่อเดือนมกราคม ปี2023
โมนีเผยว่า มีการบูรณะซ่อมแซมหินที่แตกหัก จำนวน 292 ก้อน และจัดเรียงหินเหล่านั้นกลับสู่ตำแหน่งเดิม ทั้งนี้ หอคอยบากันจะกลายเป็นสถานที่หลักในการมาเยือนนครวัดของนักท่องเที่ยว หลังจากงานบูรณะเสร็จสมบูรณ์
อนึ่ง นครวัด เป็นสถานที่สำคัญในอุทยานโบราณคดีอังกอร์ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งองค์การยูเนสโก (UNESCO) ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา ส่วนองค์การฯ เป็นหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบการจัดการ คุ้มครอง และอนุรักษ์อุทยานแห่งนี้
อุทยานโบราณคดีอังกอร์ ขนาด 401 ตารางกิโลเมตร มีวัดโบราณ 91 แห่ง ซึ่งสร้างขึ้นระหว่างศตวรรษที่ 9-13 ถือเป็นจุดหมายท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของกัมพูชา โดยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เยือนในปี 2023 สูงเกือบ 800,000 คน และทำรายได้จากการจำหน่ายบัตรเข้าชม 37.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.3 พันล้านบาท)
อ่านเพิ่มเติม :
- ปราสาท “บรมวิษณุโลก” เปลี่ยนมาเป็น “นครวัด” เมื่อใด ทำไม?
- เรารู้ได้ไงว่า “พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2” เป็นผู้สถาปนา “นครวัด” ทั้งที่ไม่มีจารึกบอก?
- พิมาย เมืองพุทธ-มหายาน เก่าแก่สุดในลุ่มน้ำโขง ต้นแบบ “ปราสาทนครวัด”
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
หมายเหตุ : เนื้อหานี้เรียบเรียงจากรายงานในบริการข่าวสารภาษาไทยของสำนักข่าวซินหัว “กัมพูชาบูรณะฐาน ‘หอคอยบากัน’ ในนครวัดเสร็จสิ้น” วันที่ 10 มกราคม 2567
ภาพจากองค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา : การบูรณะหอคอยบากันของหมู่ปราสาทนครวัด จังหวัดเสียมราฐทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 10 มกราคม 2567