ย้อนดูจุดเริ่มต้นและจุดจบ “คณะกรรมการราษฎร 2475” ผู้พลิกโฉมหน้า “การเมืองไทย” (ตอนที่ 2)

ฉลอง งาน 2475
ภาพวันงานฉลองรัฐธรรมนูญ (เครดิต Wikimedia)

หลังจากที่ “คณะกรรมการราษฎร” ขึ้นมามีอำนาจ พวกเขาต่างปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองไทย โดยใช้อำนาจ “พระธรรมนูญ” เพื่อปกครองแผ่นดินและเริ่มปฏิบัติการเร่งด่วนจำเป็นต้องทำต่อไปคือ “ถอนขุนกำลังอำนาจเก่าของกษัตริย์”

ภายในเวลา 2 สัปดาห์ คณะกรรมการราษฎรเสนอพระราชบัญญัติหลายฉบับต่อสภาผู้แทนราษฎร ยกเลิกองค์กรที่เคยเป็นราษฎรกลไกสําคัญของการบริหารประเทศ คือองคมนตรีสภา อภิรัฐมนตรีสภา สภาการคลัง สภาการป้องกันพระราชอาณาจักร รวมทั้งโอนกรมร่างกฎหมาย และกรมตรวจเงินแผ่นดินจากกระทรวงยุติธรรม และกระทรวงพระคลังมหาสมบัติมาขึ้นกับคณะกรรมการราษฎรโดยตรง และท้ายที่สุดในวันที่ 14 กันยายน 

การทําลายพลังเก่าที่ได้ผลมากอีกวิธีหนึ่ง คือการปรับโครงสร้างกองทัพบกที่เป็นเสมือน “เครื่องมือค้ำจุนพระราชอํานาจและพระราชบัลลังก์” 

รูปกองทัพบกแต่เดิมแบ่งเป็นหมวด กองร้อย กองพัน กรมกองพล กองทัพ มีผู้บังคับหมวด ขึ้นต่อ ผู้บังคับกองร้อย ๆ ขึ้นต่อ ผู้บังคับกองพัน ๆ ขึ้นต่อ ผู้บังคับการกรม ๆ ขึ้นต่อ ผู้บัญชาการ กองพล ๆ ขึ้นต่อ แม่ทัพ ๆ ขึ้นต่อ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ขณะเดียวกัน ทางวิชาการทหาร มีจเร ขึ้นต่อเสนาธิการทหารบกควบคุมอีกสายหนึ่ง ตำแหน่งสำคัญของการบังคับ 

บัญชาทหารจึงมี เสนาธิการทหารบกและเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ซึ่งพวกเจ้าหรือผู้ใกล้เบื้องยุคลบาทรับหน้าที่มาโดยตลอด 

แต่ 10 วันหลังปฏิวัติ คณะกรรมการราษฎรออกประกาศจัด ระเบียบป้องกันอาณาจักรเสียใหม่ หลักการใหญ่ ๆ คือ ยุบกองทัพกองพลลง ไม่ให้มีแม่ทัพ ผู้บัญชาการกองพล เหลือเพียง หมวด กองร้อย กองพัน ให้ผู้บังคับหมวด ขึ้นต่อ ผู้บังคับกองร้อย ๆ ขึ้นต่อผู้บังคับกองพัน ซึ่งมีรวม 18 กองพัน และผู้บังคับกองพันทุกคน ขึ้นต่อ “ผู้บัญชาการทหารบก” แม้ว่าจะมีผู้บังคับเหล่าที่สูงกว่าผู้บังคับกองพัน เช่น ผู้บังคับเหล่าทหารราบ ทหารม้า ทหารปืนใหญ่ ทหารช่าง ทหารสื่อสาร แต่ผู้บังคับเหล่า มีฐานะเท่ากับจเร อำนวยการทางวิชาการในรูปแบบเดิม จะสั่งการทางปกครองได้บ้างเพียงนิตินัย โดยพฤตินัยนั้น ผู้บังคับกองพันทหารทุกหน่วยตรงต่อผู้บัญชาการทหารบก หรือศัพท์ย่อว่า “ผ.บ.ก.ทหารบก” พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเข้ารับตําแหน่งนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475

การสะสางขุมกำลังยังล่วงเลยไปถึง “ทหารส่วนพระองค์” 5 กรม 1 กองพัน คือกรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์และกองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์  ต่างถูกเปลี่ยนแปลงไปในทางลดพระราชอำนาจภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เกือบจะทันทีทันใด บ้างก็ถูกยุบให้เหลือเพียง 1 กองพัน หรือถูกย้ายให้ไปอยู่ต่างจังหวัดและท้ายที่สุดคณะกรรมการราษฎร เข้าควบคุมนโยบายของกองทัพตามประกาศ “กำหนดหน้าที่เสนาบดีและตั้งคณะกรรมการกลางกลาโหม” เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2475

เสนาบดีกระทรวงกลาโหมถูกกำหนดหน้าที่ให้ทําเฉพาะเรื่องพื้น ๆ เช่น หน้าที่ธุรการ จัดการเรื่องเบี้ยหวัดเบี้ยบำนาญ สุขาภิบาล การรักษาพยาบาล กิจการสำคัญของทหาร เช่น การเพิ่ม ลด ปลด ย้าย รวมทั้งการวางอัตรากำลังรบ ตกอยู่ในอำนาจของ “คณะกรรมการกลางกลาโหม” 14 คน จากทหารบก และทหารเรือคนละครึ่ง 

ที่สําคัญที่สุดคือถ้ามติของคณะกรรมการเป็นเรื่องเกี่ยวกับนโยบายระดับชาติ จะต้องนำเสนอ คณะกรรมการราษฎรเพื่อวินิจฉัยสั่ง จึงจะปฏิบัติได้ วารสารทหารซึ่งเป็นเวทีเผยแพร่ความคิดก็ถูกสั่งห้ามตีพิมพ์ เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน มีวารสารอยู่ 7 ฉบับ คือ ยุทธโกษ เสนาศึกษาและแผ่ วิทยาศาสตร์ เรียนรู้ คู่คิด ทหารราบ ทหารปืนใหญ่ และข่าวแพทย์ทหารบก แต่รัฐบาลสั่งเลิกหมด ให้มีหนังสือพิมพ์ทหารบกเพียงฉบับเดียวตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2475

กรมตำรวจซึ่งเคยอยู่ใต้บังคับ บัญชาพระยาอธิกรณ์ประกาศ ถูก “เจ้านายใหม่” มองว่า มีทีท่าสนับสนุนพวกเจ้า จึงมีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างครั้งใหญ่เช่นกัน เริ่มจากชื่อ “กรมตำรวจภูธร” เปลี่ยนเป็น “กรมตํารวจ” และยุบตำรวจนครบาลในสายต่าง ๆ รวมทั้งตำรวจภูธรในจังหวัดที่ขึ้นกับกรุงเทพฯ จัดแบ่ง ตำรวจนครบาลออกเป็น 3 ภาค คือ ตำรวจนครบาลพระนครเหนือ ตำรวจนครบาลใต้ ตำรวจนครบาลธนบุรี และให้ยุบตำรวจมณฑล แบ่งตำรวจภูธรใหม่ เป็น 4 ภาค ได้แก่ ตำรวจภูธรภาคกลาง ตำรวจภูธรภาคตะวันออก ตำรวจภูธรภาคเหนือ และตำรวจภูธรภาคใต้ 

การปฏิวัติงานในรูปแบบใหม่ของคณะกรรมการราษฎร ทำให้เกิดการปลดเปลี่ยนย้ายบุคคล “ที่ไม่พึงปรารถนา” อย่างต่อเนื่อง

ตลอดอายุ 5 เดือนเศษของธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน ข้าราชการตำแหน่งสำคัญ ๆ แทบทุกหน่วยงานได้รับคำสั่ง “ปลด” ไม่ว่าจะเป็น อภิรัฐมนตรี องคมนตรีเสนาบดี สมุหเทศาภิบาลมณฑล ปลัดทูลฉลอง ผู้ช่วยปลัดทูลฉลองอธิบดีกรมตํารวจภูธร อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมพระอาลักษณ์ เจ้ากรมกองเลขาธิการองคมนตรี เลขาเจ้ากรมธิการกรมราชเลขาธิการตำรวจ ภัยสำคัญได้แยกย้ายกัน 4 ไปหมด เพียงแต่ต้องระวังพระยาอธิกรณ์ประกาศ อธิบดีคนเก่าเท่านั้น ทหารได้ไล่ขับหมดแล้ว ถึงจะมีบ้างก็ไม่สําคัญ พลเรือน คงไม่รุนแรงอะไร เพราะไม่มีอาวุธ เจ้านายเป็นญาติดีกับคณะผู้ก่อการหมดแล้วเพราะพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหลัก ทุกคนเห็นว่า “เจ้าสงบและเรียบร้อยยิ่งกว่าพวกอื่น”

ที่จริงภัยของคณะกรรมการราษฎรไม่เคยหมดไป ยิ่งเข้ากุมอํานาจ ภัยยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรมในสังคมไทยยังนับถือรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าแผ่นดินที่เคยชินมาแต่ ปู่ ย่า ตา ยายอยู่มาก ประกอบกับคนไทยมีนิสัยสงสารคนเคราะห์ร้าย จึงเกิดเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลใหม่ ทําให้คณะกรรมการราษฎรต้องบริหารงานด้วยความหวาดหวั่นและกีดกันพวกเจ้าหรือราษฎรที่รักเจ้า

ด้วยความระแวงและความกลัว คณะกรรมการราษฎรต้องจัดสายสืบสอดส่องพฤติกรรมฝ่ายตรงกับข้ามตามวังเจ้าและบ้านขุนนางกว่า 50 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นพวกที่ถูกปลดออกจากราชการ

เรื่องราวของ “คณะกรรมการราษฎร” จะเป็นอย่างไรต่อไป พวกเขาจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากฝ่ายปฏิปักษ์บ้าง ต้องติดตามตอนต่อไป

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


หมายเหตุ : เนื้อหานี้เก็บความจาก “คณะกรรมการราษฎร : อำนาจเบ็ดเสร็จหลังเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475” เขียนโดย แถมสุข นุ่มนนท์ ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน 2534. [เว้นวรรคคำ ปรับย่อหน้าใหม่ และเน้นคำเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม]


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก เมื่อ 20 มิถุนายน 2566