ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
สำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2023 ระบุว่า คณะนักโบราณคดีพบซากโบราณ ที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน ตอนกลางของประเทศจีน สันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่ของครัวเรือนผู้พิทักษ์ สุสานโจโฉ หรือเฉาเชา ในยุคราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960-1127)
สถาบันมรดกทางวัฒนธรรมและโบราณคดีมณฑลเหอหนาน เผยการค้นพบทางระบายน้ำใต้ดิน ซากสถาปัตยกรรมแบบก่ออิฐ และโบราณวัตถุอีกหลายรายการ เช่น เครื่องเคลือบ เหรียญ เครื่องใช้ รวมถึงวัสดุก่อสร้าง ในบริเวณซากโบราณแห่งนี้ ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของ สุสานโจโฉ บุคคลชื่อดังในประวัติศาสตร์จีน โดยซากโบราณทั้งหมดมีความเก่าแก่อยู่ระหว่างยุคราชวงศ์ซ่ง (ปี 960-1279) จนถึงยุคราชวงศ์หยวน (ปี 1271-1368)
โจวลี่กาง ผู้ช่วยวิจัยผู้ช่วยวิจัยประจำสถาบันฯ กล่าวว่า ลักษณะของโบราณวัตถุและทางระบายน้ำที่ขุดพบ กอปรกับปริมาณและความหลากหลายของเครื่องเคลือบ ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ซากโบราณนี้ไม่ได้เป็นของบุคคลธรรมดา หรือสามัญชน เมื่อตรวจสอบกับบันทึกทางวรรณคดี ทำให้เกิดข้อสันนิษฐานว่าซากโบราณนี้อาจเป็นพื้นที่ของครัวเรือน “ผู้พิทักษ์สุสาน”
โจวลี่กาง เสริมว่าการศึกษาวิจัยภาคสนามในอนาคตอาจเพิ่มความเข้าใจหน้าที่ของสถานพำนักโบราณแห่งนี้ เป็นข้อมูลใหม่สำหรับการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์รอบ ๆ บริเวณ สุสานโจโฉ
อ่านเพิ่มเติม :
- ทำไมโจโฉถูกเรียกว่า “กังฉินหน้าขาว” ?
- ย้อน “พินัยกรรม-คำสั่ง” โจโฉ ทำไมสั่งเสียเรื่องชีวิตบั้นปลายของเมียน้อยตน?
- ศึกผาแดงที่ทัพเรือโจโฉโดนเผาวอด มิใช่แพ้เพราะสู้ศึกไม่ได้ แต่แพ้เพราะโรคระบาด
- สุสานโจโฉ ที่ไม่น่าจะเป็นของโจโฉ (?)
หมายเหตุ : เนื้อหานี้เรียบเรียงขึ้นจากรายงานในบริการข่าวสารภาษาไทยของสำนักข่าวซินหัว “เหอหนานพบซากโบราณ คาดเป็นบ้าน ‘ผู้พิทักษ์สุสานโจโฉ’ “ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2566