ความหมายของ “อภิไทโภธิบาทว์” เทวดาทางโหราศาสตร์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

ภาพประกอบเนื้อหา - โรงพิธีพราหมณ์ (ภาพจาก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, 2530)

อภิไทโภธิบาทว์ในต้านโหราศาสตร์นั้น ใช้เรียกเทวดารักษาทิศทั้ง 8 ทิศ ซึ่งตามคัมภีร์อินตูเรียกว่าอัษฎิกบาล ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกจะนํารูปเทวดารักษาทิศแต่ละทิศมาตั้ง หรือเขียนภาพมาแขวนไว้รอบปริมณฑล เช่น รอบมณฑปพระกระยาสนาน หรือรอบพระที่นั่งอัฐทิศในแต่ละทิศ อาทิ

1. เทวดารักษาทิศบูรพา (ตะวันออก) คือพระอินทร์ ทรงช้างเอราวัณ 33 เศียร และถ้าตามพิธีไสยศาสตร์ ถ้าจะประกอบพิธีแก้อุบาทว์จะใช้รูปเช่นเดียวกัน
2. เทวดารักษาทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้) คือพระเพลิงทรงระมาดเพลิง ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์ก็จะใช้รูปเช่นเดียวกัน
3. เทวดารักษาทิศทักษิณ (ใต้) คือพระยมราชทรงนกแสก ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์จะปั้นรูปพระยมทรงกระบือ
4. เทวดารักษาทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้) คือ พระนารายณ์ (วิษณุ) ทรงครุฑ ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์จะปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ 4 ตัว
5. เทวตารักษาทิศประจิม (ตะวันตก) คือพระพิรุณทรงพญานาค ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์จะปั้นรูปพระพิรุณทรงนาค 5 ตัว
6. เทวตารักษาทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) คือ พระพาย (วายุ) ทรงม้าถือพระขรรค์และวาลวิชนี ถ้าทำพิธีแก้อุบาทว์จะปั้นรูปพระพายทรงม้า 6 ตัว
7. เทวดารักษาทิศอุดร (เหนือ) คือพระโสมะทรง ม้า ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์จะปั้นรูปพระโสมะประทับในบุษบก
8. เทวดารักษาทิศอิสาน (ตะวันออกเฉียงเหนือ) คือพระไพรศพณ์ทรงหงส์ ถ้าทําพิธีแก้อุบาทว์จะปั้นรูปอภิไทโภธิบาทว์ เป็นพระไพรศพณ์ทรงโค

กลุ่มเทวดารักษาทิศเป็นเทวดาคนละกลุ่มกับเทวตาประจําทิศและเทวดาอัษฎเคราะห์และนพเคราะห์ของพราหมณ์ สําหรับเทวดาอัษฎเคราะห์ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และเพิ่มพระเกตุด้วยจะเป็นเทวดานพเคราะห์

เทวดาประจําทิศ

ตามคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เทวดาประจําทิศทั้งแปดเรียกว่า อัษฏิกบาลนั้น นับจากทิศตะวันออกเวียนขวามาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เรื่อยไปตามลําดับ พบว่ามีบางองค์ที่ซ้ำกับเทวดาในอภิไทโพธิบาทว์ของพวกโหร ซึ่งทําให้เกิดความสับสนได้ เทวดาอัษฎกบาล มีดังนี้

ทิศตะวันออก พระอินทร์ทรงช้าง
ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พระอัคนี ทรงละมาตเพลง
ทิศใต้ พระยม ทรงมหิงสา (กระบือ)
ทิศตะวันตกเฉียงใต้ พระนิรฤติหรือพระอาทิตย์ ทรงเสือ หรือมนุษย์ (นรพาหนะ)
ทิศตะวันตก พระพิรุณ หรือวรุณ ทรงนาค
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ พระพาย หรือวายุ ทรงม้า
ทิศเหนือ พระกุเวร ทรงหงส์ หรือโค
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พระอีศาน (ภาคหนึ่งของพระศิวะ) ทรงโค

สําหรับคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา เทวดาประจําทิศ จะมี 4 องค์ เรียกว่า จตุโลกบาล มี
ทิศตะวันออก ท้าวธตรฐ อธิบดีแห่งคนธรรพ์
ทิศตะวันตก ท้าววิรูปักข์ อธิบดีแห่งนาค
ทิศเหนือ ท้าวกุเวร อธิบดีแห่งยักษ์
ทิศใต้ ท้าววิรุฬหก อธิบดีแห่งกุมภัณฑ์

ในการประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พบว่า ทั้งพราหมณ์และโหรได้อัญเชิญทั้งอภิไทโพธิบาทว์ เทวดาประจําทิศเทวดานพเคราะห์ และจตุโลกบาลหรือจตุมหาราชออกตั้งด้วย


หมายเหตุ: คัดจากหนังสือ “พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” โดย ณัฏฐภัทร จันทวิช จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร ในโอกาส 5 ธันวาคม 2530