เสวนา กันยายน 59: “บทบาทปัญญาชนไทย ก่อนสมัย 2500”

ตั้งแต่ปลายสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงปี 2500 สังคมไทยสร้างปัญญาชน, นักคิด, นักเขียน, ไว้ไม่น้อย และท่านเหล่านั้นสร้างผลงานไว้มากมาย เป็นขุมคลังทางปัญญาความคิดของคนรุ่นต่อๆ มา

นี่คือยุคของ กุหลาบ สายประดิษฐ์, สด กูรมะโรหิต, ม.จ. สกลวรรณากร วรวรรณ, ม.ร.ว. นิมิตรมงคล นวรัตน, “จูเลียต”, อิศรา อมันตกุล, เสนีย์ เสาวพงศ์, สุภา ศิริมานนท์, ส.ธรรมยศ, สมัคร บุราวาศ, สุภัทร สุคนธาภิรมย์, อารีย์ ลีวีระ, ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร, อัศนี พลจันทร, “อุชเชนี”, สุวัฒน์ วรดิลก, “ทวีปวร”, “นารียา”, เสนาะ พานิชเจริญ, ชาญ กรัสนัยปุระ, “พ. เมืองชมพู”, จิตร ภูมิศักดิ์, และ ฯลฯ

Advertisement

บุคคลเหล่านี้เป็นใคร และงานของเขาส่งผลสะเทือนอย่างไรในประวัติศาสตร์ยุคใกล้ของไทย?

“บทบาทปัญญาชนไทย

ก่อนสมัย 2500″

โดย ศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, .ดร. เกษียร เตชะพีระ และ ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ ดำเนินการเสวนา

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.. 2559 เวลา 13.30-16.30 . ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี

โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า โทร. 0 2580 0021-40 ต่อ 1206, 1228

พิเศษ! สำหรับลูกค้า AIS สำรองที่นั่ง 30 คนแรก รับพ็อกเก็ตบุ๊กฟรี (โปรดแสดงสิทธิ์ต่อเจ้าหน้าที่ในวันงาน)