วัดร้างในบางกอก

วัดร้าง…กับชุมชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

ผศ.ดร.ประภัสสร์ ชูวิเชียร ได้ออกพื้นที่สำรวจวัดร้างทั้งที่ยังหลงเหลือให้เห็น และที่เหลือเพียงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดต่างๆ ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร โดยถ่ายทอดข้อมูลไว้ในหนังสือ “วัดร้างในบางกอก” ไว้อย่างน่าสนใจ

แอดมินขอนำตัวอย่างบางส่วนมาให้คุณผู้อ่านได้ซึมซับข้อมูลและชมภาพสี่สีจากหนังสือ ดังนี้

อุโบสถวัดสวนสวรรค์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสูงหลังคาไม่ซ้อนชั้น ซึ่งอาจสร้างขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงต้นรัตนโกสินทร์ วัดสวนสวรรค์ตั้งอยู่ในซอยสวนสวรรค์ ชุมชนบ้านปูน บางยี่ขัน ปัจจุบันชาวบ้านโดยรอบเริ่มเห็นความสำคัญของโบราณสถานวัดสวนสวรรค์นี้ มีการจัดทำความสะอาดและอนุรักษ์อุโบสถ ตามกำลังที่มีกันในชุมชน

วัดสวนสวรรค์ บางยี่ขัน – ศิลปกรรมแห่งสวนสวรรค์

อุโบสถวัดสวนสวรรค์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงสูงหลังคาไม่ซ้อนชั้น ซึ่งอาจสร้างขึ้นราวสมัยอยุธยาตอนปลาย ถึงต้นรัตนโกสินทร์
วัดสวนสวรรค์ตั้งอยู่ในซอยสวนสวรรค์ ชุมชนบ้านปูน บางยี่ขัน ปัจจุบันชาวบ้านโดยรอบเริ่มเห็นความสำคัญของโบราณสถานวัดสวนสวรรค์นี้ มีการจัดทำความสะอาดและอนุรักษ์อุโบสถ ตามกำลังที่มีกันในชุมชน

วัดอังกุลา หลงเหลือร่องรอยที่มีหลักฐานทางโบราณคดี-ศิลปกรรมที่น่าสนใจ และอาจโยงกลับไปจนถึงสมัยอยุธยา “หลวงพ่อดำ” คือหลักฐานสำคัญในวัดอังกุลา เป็นพระประธานภายในอุโบสถเก่า องค์หลวงพ่อเป็นพระพุทธรูปปารมารวิชัย ซึ่งน่าจะสลักจากหินทรายตามแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ด้วยเค้าพระพักตร์รียาว เม็ดพระศกเล็กละเอียด ไม่มีเส้นไรพระศกคาดคั่นแนวระหว่างเม็ดพระศกกับพระนลาฏ พระขนงโก่ง พระเนตรหรี่ต่ำ พระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มีพระหนุ(คาง) เป็นปมเน้นรูปเหลี่ยม อันเทียบได้กับพระพักตร์พระพุทธรูปหินทรายในศิลปะอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนแก้วเงินทอง ชุมชนบางระมาด ย่านตลิ่งชัน ได้รับความนับถือจากคนในชุมชน

 

วัดอังกุลา หลงเหลือร่องรอยที่มีหลักฐานทางโบราณคดี-ศิลปกรรมที่น่าสนใจ และอาจโยงกลับไปจนถึงสมัยอยุธยา

“หลวงพ่อดำ” คือหลักฐานสำคัญในวัดอังกุลา เป็นพระประธานภายในอุโบสถเก่า องค์หลวงพ่อเป็นพระพุทธรูปปารมารวิชัย ซึ่งน่าจะสลักจากหินทรายตามแบบพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ด้วยเค้าพระพักตร์รียาว เม็ดพระศกเล็กละเอียด ไม่มีเส้นไรพระศกคาดคั่นแนวระหว่างเม็ดพระศกกับพระนลาฏ พระขนงโก่ง พระเนตรหรี่ต่ำ พระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มีพระหนุ(คาง) เป็นปมเน้นรูปเหลี่ยม อันเทียบได้กับพระพักตร์พระพุทธรูปหินทรายในศิลปะอยุธยาตอนต้น

ปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนแก้วเงินทอง ชุมชนบางระมาด ย่านตลิ่งชัน ได้รับความนับถือจากคนในชุมชน