ผู้เขียน | ปดิวลดา บวรศักดิ์ |
---|---|
เผยแพร่ |
เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินว่า “ไกลหลายโยชน์” “ห่างไปเป็นโยชน์” ซึ่งได้ฟังแล้วรู้สึกห่างไกลมาก ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า “ชื่อมาตราวัด ๔๐๐ เส้น เป็น ๑ โยชน์” แล้วที่มาคำนี้มาจากไหน?
โยชน์ มาจากไหน?
ในหนังสือ “ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง” (สำนักพิมพ์มติชน) ที่แปลโดย ชิว ซูหลุน อธิบายไว้ว่า…
“คำว่าโยชน์ มาจากการคำนวณเดินทางทัพของกษัตริย์มาแต่โบราณกาลที่แล้วมา เชื่อกันว่าระยะทาง 1 โยชน์เทียบเท่ากับ 40 ลี้ แต่ถ้านับแบบอินเดีย ก็จะมีเพียง 30 ลี้ แต่ถ้าว่าตามที่บันทึกในพุทธศาสนาก็จะมีเพียง 16 ลี้เท่านั้น
ถ้าคำนวณย่อยลงไปอีก 1 โยชน์เท่ากับ 8 โกรศ คำว่า ‘โกรศ’ เป็นการวัดระยะทางที่ถือเสียงโคใหญ่ร้องเป็นเกณฑ์ เสียงโคใหญ่ร้องได้ยินถึงที่ไหน ที่นั่นคือ 1 โกรศ 1 โกรศเทียบเท่า 500 ธนู 1 ธนูเทียบเท่า 4 ศอก 1 ศอก 24 นิ้ว 1 นิ้วเป็น 7 เมล็ดข้าว ต่อจากนั้นก็ยังมี [การนับถึง] ตัวเหา ไข่เหา ช่องว่างฝุ่น ละออง ขนวัว ขนแพะ ขนกระต่าย น้ำทองแดง ล้วนแยกได้เป็น 7 ส่วนตามลำดับ จนถึงฝุ่นละออง
แยกฝุ่นละอองเป็น 7 ส่วน เรียกว่า อณู ซึ่งก็คือแยกไม่ได้อีกแล้ว ถ้าแยกก็จะเหลือแต่ความว่างเปล่า จึงเรียกว่า อณู”
เป็นที่มาของคำว่า “โยชน์” ที่เราใช้กันนั่นเอง…
อ่านเพิ่มเติม :
- เจียว (焦) ไข่ เมื่อคำจีนกลายเป็นคำไทย คำ “เจียวไข่” มาจากไหน
- มาตราวัดสั้น-ยาว ของคนโบราณไม่มีสายวัด ตลับเมตร ฯลฯ แล้วเขาใช้อะไรกัน
- มาตราวัดแบบโบราณในคัมภีร์ “จันทสุริยคติทีปนี” ใช้ “วัว” เป็นเกณฑ์วัด !?
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
ชิว ซูหลุน. ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง. กรุงเทพฯ: มติชน, 2567.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 29 ตุลาคม 2567