4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง กษัตริย์-หมอ-สะ-ตะแบงพวน ใครนั่งตรงไหนบ้าง

ภาพ 4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง (ภาพจากกรมศิลปากร)
ภาพ 4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง (ภาพจากกรมศิลปากร)

การนั่งช้างไปยังที่ต่าง ๆ คงเป็นเรื่องแปลกสำหรับสังคมปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้ เรามีรถราไว้นั่งไปไหนมาไหน แต่ในอดีต การขี่ช้างไปยังที่ต่าง ๆ เป็นเรื่องทั่วไป ทั้งขี่ช้างเพื่อรบออกศึกก็ด้วย ทำให้ในอดีตมีการแบ่งตำแหน่งการนั่ง สำหรับ 4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง ซึ่งประกอบด้วย กษัตริย์-หมอ-สะ-ตะแบงพวน

4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง กษัตริย์-หมอ-สะ-ตะแบงพวน ใครนั่งตรงไหนบ้าง

ภาพตำแหน่งนั่งหลังช้าง (ภาพจากกรมศิลปากร)

ใน “ตำราขี่ช้าง ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑” กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า…

“กลที่นั่งนั้นมี 4 ที่ ที่นั่งหมอที่หนึ่ง ที่นั่งสะที่หนึ่ง ที่นั่งกะษัตริย์ที่หนึ่ง ที่นั่งตะแบงพวนหนึ่ง แลซึ่งจะนั่งขี่ช้างนั้นให้นั่งเหมือนเด็กอันพึงจะสอนนั่งนั้น ให้นั่งตึงทั้งกาย นั่งให้เปนไม้ปล่องเดียว จะโอนก็โอนไปทั้งนั้น จะตรงก็ตรงไปทั้งนั้น

ที่นั่งหมอนั้นอยู่ที่นอก ที่นั่งสะนั้นอยู่ที่กลาง ที่นั่งกระษัตริย์นั้นอยู่ที่ใน ที่นั่งตะแบงพวนนั้นก็อยู่ที่กลาง ถ้าจะนั่งหมอนั้นให้เอาปลายผีเย็บนั้นให้ถึงคอช้าง ให้เอาชายพกทับพรมชะนักลง ถ้าจะนั่งทนั่งสะนั้นให้เอากลางผีเย็บให้ถึงคอช้าง ให้ชายพกตกริมพรมชะนักข้างใน

ถ้าจะนั่งที่นั่งกระษัตริย์ให้เอาต้นผีเย็บต่อทวารให้ถึงคอช้าง ให้ชายพกพ้นพรมชะนักเข้ามานิ้วหนึ่ง ถ้าจะนั่งที่ตะแบงพวนก็ให้เอากลสงผีเย็บให้ถึงคอช้าง ให้ชายพกตกริมพรมชะนักข้างใน ให้เยื้องตัวเข้าหาด้ามขอ ให้ดูถ้าเจ็บแต่ตาเดียวให้เข่าข้างซ้ายติดคอช้าง เข่าข้างขวานั้นให้ห่างคอช้างออกไป ถือขออย่างลูกหลวง

อย่างนี้ชื่อว่านั่งตะแบงพวนแล ถ้าจะนั่งที่หมอนั้นนั่นให้ตึงทั้งตัวให้ง้ำออกมา จะนั่งสะนั้นให้ยืดขึ้นนั่งให้ตรงสะน้อย จะนั่งที่นั่งกระษัตริย์นั้นนั่งให้ตรงขึ้นมาที่เดียว 

แลซึ่งจะนั่งช้างทั้ง 4 ท่านี้ให้ดูกิริยาช้าง ถ้าช้างหนักนั่งให้ตึงจึงดี ถ้าช้างเบานั่งแต่พอสมควรจึงดี กลที่นั่งกล่าวไว้ดังนี้แล

ช้าง 4 ตำแหน่งนั่งหลังช้าง
ภาพตำแหน่งนั่งหลังช้าง (ภาพจากกรมศิลปากร)

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. พระสมุดตำราแผนคชลักษณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หอสมุดแห่งชาติ, 2546. 


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 7 ตุลาคม 2567