“มกร” ปลามีงวงช้าง ศิลปะรุ่นแรกแห่งเมืองศรีมโหสถ

มกร สระแก้ว เมืองศรีมโหสถ ลายเส้นมกรลักษณะเป็นปลา
ภาพด้านซ้าย เป็นภาพถ่ายมกร ริมสระแก้ว เมืองศรีมโหสถ (ภาพจากหนังสือ "ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ 2") ภาพด้านขวา เป็นภาพลายเส้นมกรที่ริมสระแก้ว เมืองศรีมโหสถ ยังมีลักษณะเป็นปลา (ภาพจากหนังสือ "ฝรั่งหายคลั่ง (หรือยัง?)")

“มกร” ปลามีงวงช้าง ศิลปะรุ่นแรกแห่งเมืองศรีมโหสถ

ศิลปะรุ่นแรกที่ปรากฏที่เมืองศรีมโหสถอยู่ที่ ริมสระแก้ว, ที่ประกอบด้วยช้าง, สิงห์ และ มกร

มกร (Makara) นี่แหละเป็นตัวกำหนดอายุของศิลปะ, เพราะในประวัติศาตร์ศิลป์ของอินเดียมีวิวัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจน

Advertisement

ครั้งแรกชาวอินเดีย (ที่ไม่ค่อยสนใจทะเล) ชอบใจที่เห็นปลาโลมา (ปลาที่มีงวงช้าง) ในศิลปะกรีก-โรมัน จึงรับเข้ามา

มกร (อ่าน มะ-กอน มาจาก มะ-กะ-ระ Makara) สัตว์ศักดิ์สิทธิ์สลักขอบสระแก้ว เมืองมโหสถ อายุ 1,500 ปีมาแล้ว (ลายเส้นจําลองใหม่จากรูปสลักขอบสระแก้ว)

ต่อมาศิลปิน (ที่ไม่ถนัดสัตวศาสตร์) ได้พัฒนา “ปลาที่มีงวง” ให้มีขาอย่างสิงห์ และหางอย่างหงส์ จึงกลายเป็นมกร (สัตว์ประสม) ที่เรารู้จักทุกวันนี้ วิวัฒนาการนี้ใช้เวลาหลายร้อยปี และเราไม่ทราบว่าเริ่มต้นเมื่อไร, แต่มกรเพิ่งกลายเป็นสัตว์ประสมที่เรารู้จักราวพุทธศตวรรษที่ 10-11 สมัยคุปตะตอนปลาย

“ปลามีงวงช้าง” ที่ปรากฏตามขอบสระแก้วน่าจะสะท้อนศิลปะอมราวดีรุ่นแรกครั้งพุทธศตวรรษที่ 7-10

อ่านเพิ่มเติม :

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง :

ไมเคิล ไรท. (2551). ฝรั่งหายคลั่ง (หรือยัง)”. กรุงเทพฯ : มติชน.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2560