เปิด 4 ตระกูลใหญ่ของ “พญานาค” มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร?

พญานาค
จิตรกรรมพญานาคที่วัดโพธิ์ (ภาพโดย Andrea Kirkby ใน Flickr สิทธิการใช้งาน CC BY-SA 2.0)

“พญานาค” เป็นอมนุษย์ที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยมากมาย มีความเชื่อว่าสามารถแปลงกายเป็นมนุษย์ได้ (ยกเว้นเพียงตอนเกิด ตาย นอนหลับ ร่วมเพศ และเวลาลอกคราบ) ทั้งยังช่วยเหลือมนุษย์ในเรื่องต่าง ๆ มากมาย ขณะเดียวกันพญานาคแต่ละตนก็เกิดในที่ต่างกัน มีความแตกต่างกัน ดูได้จากลักษณะทางกายภาพ รวมถึงมีการแบ่ง 4 ตระกูลใหญ่ของพญานาค 

มกรคายพญานาคเจ็ดเศียร เชิงบันไดวัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ภาพโดย Thanyakij จาก th.wikipedia.org/wiki/มกร

มีความเชื่อว่าพญานาคเกิดขึ้นมาจากนางกัทรูและพระกัศยพราหมณ์ฤษี โดยนางกัทรูมีลักษณะเป็นสัตว์ เกิดจากฟองไข่ และให้กำเนิดลูกครั้งแรกจำนวน 1,000 ตัว 

Advertisement

พญานาคแต่ละตนสามารถเกิดขึ้นมาได้ 4 ลักษณะ ได้แก่ เกิดในฟอง เรียกว่า “อัณฑชะ” เกิดในครรภ์ เรียกว่า “ชลาพุชะ” เกิดในที่หมักหมม เรียกว่า “สังเสทชะ” และเกิดแล้วโตทันที ได้แก่ “โอปปาติกะ”

ถึงแม้ว่าจะเกิดต่างกัน แต่ในคัมภีร์บาลีก็กล่าวไว้ว่านาคที่เกิดมาทั้ง 4 แบบนี้ล้วนแต่มีบุญและมีอำนาจ

พญานาคยังสามารถแบ่งตระกูลออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่ ดูได้จากสีผิว 

4 ตระกูลใหญ่ของพญานาค

1. ตระกูลวิรูปักขะหรือตระกูลวิรูปักข์ มีผิวกายเป็นสีทองคำ ตระกูลนี้เรียกได้ว่าเป็นราชาใหญ่แห่งนาคทั้งหมด และเป็นหนึ่งในสี่มหาราชที่ปกครองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาด้านทิศตะวันตก

2. ตระกูลเอราปักถะ มีผิวสีเขียว

3. ตระกูลฉัพยาปุตตะ มีผิวสีรุ้ง

4. ตระกูลกัณหาโคตมะ มีผิวสีดำ

พญานาคยังมีตระกูลยิบย่อยของตนเองอยู่อีก 1,024 ชนิด และเรียกได้ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทงูและงูทุกชนิดก็ถือว่าเป็นลูกหลานของพญานาคทั้งสิ้น

4 ตระกูลใหญ่ของพญานาค
พญานาคที่วัด (ภาพ : pixabay)

อ่านเพิ่มเติม : 

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


อ้างอิง : 

https://www.matichonweekly.com/column/article_640940

วิเชียร นามการ, วทัญญู ภูครองนา, สุทธิวิทย์ จันทร์ภิรมย์ และประสิทธิ์ คำกลาง. บทบาทความเชื่อเรื่องพญานาคในพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย ใน วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม), 2564.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 5 กันยายน 2567