“รพินทรนาถ ฐากูร” นักคิดผู้ยิ่งใหญ่ กล่าวถึงแก่นแท้ที่เป็นสากลของศาสนา

(ซ้าย) รพินทรนาถ ฐากูร (ขวา) คานธี

13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 รพินทรนาถ ฐากูร (ค.ศ. 1861-1941/พ.ศ. 2404-2484) นักคิด นักปรัชญา กวีผู้ยิ่งใหญ่ กลายเป็นชาวเอเชียคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล สาขาวรรณกรรม จากงานรวมบทกวี “คีตาญชลี” รพินทรนาถมีความรักชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นนักสากลนิยมที่แท้จริง ท่านยังพยายามเป็นสื่อแห่งความเข้าใจในกันและกันระหว่างประชาชาติต่างๆ

นอกจากนี้ทรรศนะทางศาสนาของรพินทรนาถ ก้าวหน้าล้ำยุคสมัย ครั้งหนึ่งในการประชุมผู้นับถือศาสนาทั้งปวงในโอกาสครบรอบร้อยปีศรี รามกฤษณะ ปรมหังสา (ค.ศ. 1836-1886/พ.ศ. 2379-2429) ผู้นำทางศาสนาในศาสนาฮินดูในเบงกอลศตวรรษที่ 19 รพินทรนาถกล่าวถึงแก่นแท้ที่เป็นสากลของศาสนา และเครื่องบั่นทอนจากลัทธิยึดถือประชาคมของตนเป็นใหญ่ตอนหนึ่งว่า

“ศาสนาที่มาสู่เราที่ได้ให้เสรีภาพแก่เรา กลับกลายเป็นศัตรูที่ร้ายกาจที่สุดของเสรีภาพ ในบรรดาพันธะทั้งมวลนั้น พันธะทางศาสนามีความแกร่งกล้าที่สุดที่จะถูกทำลายได้

คุกตะรางที่น่าชิงชังรังเกียจอย่างที่สุดก็คือคุกตะรางที่มองไม่เห็น คุกตะรางที่จองจำวิญญาณของมนุษย์ให้เป็นนักโทษของการหลอกลวงตัวเอง”

สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่


ข้อมูลจาก :

ทวีปวร. เก้ารัตนกวีของโลก, สำนักพิมพ์มติชน. พิมพ์รวมเล่มครั้งแรก มกราคม 2538.


เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 28 กันยายน 2564