ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
ปีแอร์ โอร์ต (Pierre Orts) ผู้ช่วยที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยียมกล่าวถึงคุกโบราณในเมืองเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2440 ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง เรือนจำ มณฑลพายัพ ซึ่งกลายมาเป็นเรือนจำกลางจังหวัดเชียงใหม่ และทัณฑสถานหญิงจังหวัดเชียงใหม่ในลำดับถัดมา
เนื้อหาตอนหนึ่งมีใจความว่า
“วันนี้ข้าพเจ้าไปเยี่ยมชมเรือนจำใหญ่ ได้เห็นสภาพอันน่าสังเวชเป็นอย่างยิ่ง เรือนจำแห่งนี้ไม่มีหลังคา และพื้นก็เฉอะแฉะไปด้วยโคลนหนาประมาณ 2-3 นิ้ว ต้องเดินไปบนสะพานไม้ที่ทอดไว้สำหรับเดินจากประตูใหญ่เข้าไปในตัวเรือนจำ ภายในเรือนจำก็มืดและมีเหล่านักโทษผู้เคราะห์ร้ายประมาณ 20 คน ยืนอยู่บนพื้นอันเฉอะแฉะด้วยโคลนสีดำ
เมื่อเข้าไปภายในก็จะมีสภาพเหมือนโรงเก็บสินค้า มีนักโทษใส่ขื่อคาคุกเข่าอยู่บนพื้นไม้ บ้างก็สูบบุหรี่ บ้างก็นั่งห้อยแขนอยู่ โรงเรือนมี 3 ประตู ประตูแรกเป็นที่จองจำนักโทษที่ถูกจำคุกในระยะสั้น ประตูที่สองเปิดออกไปสู่ที่คุมขังนักโทษฉกรรจ์ และประตูที่สามเป็นประตูห้องจำคุกนักโทษหญิง ห้องขังทั้งหมดแทบจะไม่มีอากาศหายใจ มีแสงสว่างก็เพียงที่ลอดเข้าทางรอยแตกของผนังเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีกลิ่นอันสุดจะทนทานอยู่ทั่วไป เราต้องคลานเข้าไปทางประตูที่จะเข้าไปสู่ห้องขังนักโทษหญิงซึ่งสูงเพียงแค่ 60 เซนติเมตรเท่านั้น
ข้าพเจ้าคิดว่าสถานที่เช่นนี้ เปรียบไม่ได้แม้กับคอกหมูของเราชาวยุโรป เพราะสัตว์เลี้ยงคงอาศัยอยู่ไม่ได้”
อ่านเพิ่มเติม :
สำหรับผู้ชื่นชอบประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม แง่มุมต่าง ๆ ทั้งอดีตและร่วมสมัย พลาดไม่ได้กับสิทธิพิเศษ เมื่อสมัครสมาชิกนิตยสารศิลปวัฒนธรรม 12 ฉบับ (1 ปี) ส่งความรู้ถึงบ้านแล้ววันนี้!! สมัครสมาชิกคลิกที่นี่
อ้างอิง :
วรชาติ มีชูบท. “เวียงแก้ว จากคุ้มหลวงสู่คอกหลวงนครเชียงใหม่”, ใน ศิลปวัฒนธรรม ฉบับสิงหาคม 2555.
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 23 สิงหาคม 2560