
ผู้เขียน | กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม |
---|---|
เผยแพร่ |
“…ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่า ‘จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี’ ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวว่า เพราะความเป็นทหารที่เรามีคติประจำใจว่า เรายอมเสียสละได้แม้ชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดความจำเป็นที่เราจะต้องทำงานเพื่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการเสียชื่อเสียง เสียสัจจะวาจาก็อาจจะเป็นความจำเป็น…” พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงสาเหตุที่จำเป็นต้องยอมผิดคำพูด นำไปสู่การประท้วงรัฐบาลครั้งใหญ่ก่อนลงเอยด้วยการเสียเลือดเสียเนื้อของประชาชน จนถูกขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “พฤษภาทมิฬ”
“พฤษภาทมิฬ” พฤษภาคม พ.ศ. 2535
วันที่ 7 เมษายน 2535 พล.อ.สุจินดาประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่าเป็นการ “เสียสัตย์เพื่อชาติ”
เกิดการชุมนุมประท้วงให้ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ลาออกนับตั้งแต่นั้น การชุมนุมประท้วงเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 รัฐบาลมีคำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะกัน ความโกลาหลนี้กินระยะเวลา 7 วัน (17-24 พฤษภาคม) มีผู้บาดเจ็บ 1,728 ราย สูญหายอีกกว่า 500 คน ไม่ทราบจำนวนผู้ถูกจับกุม
อ่านเพิ่มเติม :
- ที่มาวาทะพลเอกสุจินดา “ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์” ก่อนนำสู่ “พฤษภาทมิฬ”
- การเมืองไทยสมัยชาติชาย จากเปรม-บ้านพิษณุโลก-รถโมบาย สู่รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534
- “พฤษภาทมิฬ” จะไม่เกิด หากมีนายกฯ ชื่อ “พล.อ.อ. สมบุญ” ?
ที่มา :
รำลึก 24 ปี พฤษภา 35 ต้านทหารสืบทอดอำนาจ : มติชน วีกเอ็นด์ 14 พ.ค. 59
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ 17 พฤษภาคม 2560